หน้าร้านดีดี บอร์ด

พระเกจิอาจารย์ => หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม => ข้อความที่เริ่มโดย: ka1 ที่ ธันวาคม 30, 2010, 03:00:26 PM



หัวข้อ: หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม-หน้า 2 จาก 5
เริ่มหัวข้อโดย: ka1 ที่ ธันวาคม 30, 2010, 03:00:26 PM
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
หน้า 2 จาก 5

         เพราะการเทศน์เวสสันดรชาดกนั้นพระนักเทศน์ต้องตลกคะนอง แต่หลวงพ่อกวยไม่ชอบตลกคะนอง ปัจจุบัน ใบในการเทศน์ของท่านยังอยู่ที่วัด หลวงพ่อเขียนไว้ว่า พระกวยสร้างถวาย แล้วตอกตรารูปสิงห์ชูคอเอาไว้ อยู่ต่อมาหลวงพ่อได้หยุดเทศน์โดยหลบหรือแอบไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน หมอเขียนคนนี้สามารถรักษาโรคระบาด หรือโรคห่าได้ ตอนนั้นคนเป็นโรคระบาดที่บ้านโคกช้าง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก หมออื่น ๆ ก็ตาย เหลือหมอเขียนคนเดียว สามารถรักษาโรคห่า, โรคไข้ทรพิษได้ ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ พระกวยได้มาเรียนปริยัติธรรม

         เพื่อให้เจริญใน ศาสนา ได้มาอยู่วัดวังขรณ์ ๒ พรรษา ต.โพธิ์ชนไก่ พรรษาต่อมาได้เรียนธรรมโท แต่พอสอบได้เป็นไข้ไม่สบายเลยไม่ได้สอบ จึงมาคิดได้ว่าปริยัติธรรมก็เรียนมาพอสมควร จึงอยากจะเรียนวิปัสสนากรรมฐานและอาคมตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลัง จึงได้เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วิริยะโสภิต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อศรีองค์นี้เชี่ยวชาญในวิปัสสนา กรรมฐานมาก เก่งที่สุดในจังหวัดสิงห์บุรี ขณะนั้นหลวงพ่อได้เรียนวิชาทำแหวนนิ้ว ซึ่งแหวนนิ้วของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ใต้ท้องวงจะตอกตัวขอมอ่านว่าอิติ ของหลวงพ่อก็เช่นกันและได้เรียนวิชาอีกหลายอย่าง ได้จำพรรษาอยู่วัดหนองตาแก้ว ต.โคกช้าง อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี ที่วัดตาแก้วนี้ หลวงพ่อได้ปลูกต้นสมอไว้ ๑ ต้น ปัจจุบันยังอยู่ หลวงตาสมาน เคยไปอยู่วัด หนองตาแก้ว ได้นำไก่แจ้เอาไปนอนบนต้นสมอ ปรากฏว่าไก่ไม่ยอมนอน ไม่ทราบว่าหลวงพ่อได้ลงวิชาอะไรไว้ ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อ เพิ่งอายุ ๒๘ ปี พรรษาได้ ๘ พรรษา

         แสดงว่าหลวงพ่อกวยเป็นผู้มีอาคมตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่ม ได้จำพรรษาที่วัดหนองตาแก้ว ๑ พรรษา ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท อีก ๑ พรรษา ได้เรียน แพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระในขณะที่พักจำ พรรษาที่วัดหนองแขม ไก้มีเพื่อนภิกษุชื่อ แจ่ม ได้เดินทางท่องเที่ยวไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพณ์แรงมาก คล้ายมีเทพและเทวดารักษา จึงได้มาชักชวนพระกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชา ใต้โคนไม้ พระภิกษุ กวย จึงได้จุดธูปบอกเล่า และ อธิฐานว่า "ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเอา ตำรานี้ไปเก็บรักษาไว้ ขอธูปที่จุดนี้ให้ไหม้ให้หมดดอก" แต่ปรากฏว่าธูปได้ไหม้ไม่หมด พระภิกษุกวยจึงได้เสี่ยงสัตย์อธิษฐานขึ้น มาใหม่ว่า

         "ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือ ประชาชนเท่านั้น" แล้วก็จุดธูปขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายปรากฏว่าธูปได้ไหม้หมดทั้ง ๓ ดอก หลวงพ่อกวย จึงได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ เจ้าของตำราและอัญเชิญเอาตำรานั้นมาเก็บไว้ ต่อมามีคนร่ำลือกันว่ามีคน ๆ หนึ่งได้นำตำราชุดนี้มาเก็บไว้ในบ้าน ได้เกิดเหตุวิบัติ เจ็บไข้ล้มตาย จึงเอาตำราชุดนี้มาทิ้งไว้ดังกล่าว พระภิกษุกวย เมื่อได้ข่าวดังนั้นก็มาเปิดตำราดูก็ปรากฏว่ามีลายลักษณ์อักษรบอก ไว้ในตำราว่า ตำรานี้ห้ามเอาไปไว้บ้านใคร ๆ ทั้งสิ้น มิฉะนั้นจะฉิบหาย พระภิกษุกวยจึงได้ศึกษาตำรายันต์และคาถาจากตำราเล่ม นี้ ปัจจุบันตำราเล่มนี้ยังอยู่ที่วัด หน้าปกเขียนว่าครูแรงด้วยสีแดง ปกติไม่มีใครกล้าหยิบต้อง

         ผู้เขียนเคยขอร้องให้ท่านอาจารย์ สำรวย เจ้าอาวาสหยิบมาให้ดู ๑ ครั้ง ผมได้จุดธูปบอกเล่าหลวงพ่อกวย และเจ้าของตำราขอสมาโทษ ได้ขอสมาต่อหลวงพ่อกวยว่า "ผมไอ้ ครู ศิษย์คนเล็กของหลวงพ่อ ตอนหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ ผมไม่กล้าที่จะล่วงเกินหลวงพ่อแม้แต่น้อย เคารพหลวงพ่อดุจบิดา แต่วันนี้ อาจเอื้อมเปิดตำราของหลวงพ่อ เปรียบเสมือนครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อ ขอหลวงพ่อจงอย่าได้ถือโกรธ หากพระมนต์บทใด หลวงพ่อจะให้ขอให้ผมจำได้เพียงท่องแค่ ๓ ครั้ง" ผมได้เปิดตำราดู ใจตำรามีพระมนต์และยันต์ต่าง ๆ มากมายหลายร้อยยันต์ เป็นยันต์กันอาวุธ, กันกระทำ, กันคุณ, กันของ คาถาก็มีมากมายหลายบท เป็นภาษาของคนโบราณแต่มีบทหนึ่งเขียนไว้ว่า พระมนต์พระพุทธเจ้าชนะมาร ใช้เรียกนางแม่ธรณี ใช้ทำน้ำมนต์ ฆราวาสห้ามเรียน ในพระมนต์นี้ได้เขียนถึงการใช้มนต์ใจทาง ที่ดี และใช้ไปในทางที่ร้าย คือ มนต์ดำ ผมเลยตัดสินใจอธิษฐานขอเรียนท่องเพียง ๒ ครั้ง ก็จำได้แล้วปิดตำรามอบคืนให้ท่าน อาจารย์สำรวย

         เรื่องตำรายันต์ที่หลวงพ่อคัดลอกและเรียนมานี้ ปัจจุบันอยู่ที่อาจารย์เหวียน มณีนัย คนทำทอง ต.ปากน้ำ อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี ๑ เล่ม เก็บรักษาอยู่ที่วัดท่าทอง แขวนไว้ในกุฎิไม่มีใครกล้ายุ่ง อยู่ที่อาจารย์ตั๊ว ๑ เล่ม อยู่ที่อาจารย์แสวง วัดหนอง อีดุก อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๑ เล่ม ส่วนที่วัดมีหลายเล่ม มีอยู่เล่มหนึ่งเป็นตำราภาษาไทย มองดูก็ธรรมดา หลวงพ่อห่อปกไว้ อย่าวงดี ใส่พานไว้บูชาหน้าปกเขียนว่า ทางมรรคผล ลายแทงนิพพานเขียนโดยหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ รับหนังสือไว้ พ.ศ. ๒๕๐๒ ปีนั้นหลวงพ่อสดมรณภาพแล้ว ตำรานี้ปัจจุบันยังอยู่ใจพาน หน้าโต๊ะหมู่ท่าน กรุณาอย่าไปแตะต้อง บางคนกลับไปบ้าน ไม่สบายเพ้อคลั่งปวดหัวก็มี เข้าใจว่าหลวงพ่อกวยได้ศึกษาตำราเล่มนี้ในบั้นปลายของชีวิต

         เมื่อหลวงพ่อออกจากวัดหนองแขมแล้ว ได้ไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำ แหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่น ๆ และได้เรียนวิชารักษาโรคกระดูกหักจากหลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี เข้าใจว่า หลวงพ่อคงจะเรียนวิชากับหลวงพ่อองค์อื่น ๆ อีก เพราะในตำรารักษาไข้ ยังได้กล่าวถึงครูของท่านองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน กับหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว ก็เข้าใจว่าชอบพ่อกัน เพราะหลวงพ่อเคยทำพระพิมพ์ยอดขุนพล แล้วนำเหรียญ หลวงพ่อกันกดลงไปด้านหลัง

         ศิษย์ร่วมรุ่นของหลวงพ่อที่เป็นที่รู้กันคือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย คือครั้งหนึ่ง พระโชน วัดหัวเด่น ได้ไปกราบหลวงปู่ หลวงปู่ได้พูดว่าสรรคบุรี ไม่รู้จักท่านกวยหรือ พระโชนได้พูดว่า เป็นศิษย์ครับ หลวงปู่ หัวเราะชอบใจใหญ่เลย ได้พูดว่า "ท่านกวยเขาใจจริง" เรียนวิชามาด้วยกัน เขาใจจริง เขาไม่กลัวอะไร จากคำบอกเล่าจากพระภิกษุแบนและพระหลวงตา ตลอดจนศิษย์รุ่นเก่าได้พูดตรงกันว่า หลวงพ่อกวยตอนที่อยู่ที่วัดก็เป็นพระ ที่มีอาคมเหมือนพระทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อท่านกลับมาจากเรียนวิชาจากเมืองเหนือ (หมายถึง นครสวรรค์) เมื่อท่านกลับมาท่านเก็บตัว พูดน้อย มีจิตมหัศจรรย์ วาจาสิทธิ์ เหนือกว่าพระทั่วไป เรื่องที่หลวงพ่อไปเรียนวิชามากับหลวงพ่อเดิมนี้ มีหลักฐานคือมีรูปถ่าย ของหลวงพ่อเดิม มีจารด้วยลายมือ พบในกุฏิของหลวงพ่อ หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ลุงลอน คนสักยันต์แทนหลวงพ่อก็มี มี ๒ รูป สมัยนั้นเดินไป หลังสงครามหลวงพ่อจะไปเรียนวิชาทำทอง เล่นแร่แปรธาตุ แต่หลวงพ่อเดิมไม่สอนให้ ในช่วงนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าหลวงพ่อกลับวัดบ้านแคเมื่อไร แต่ก่อน พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อหลวงพ่อกลับมาอยู่วัดบ้านแค หลวงพ่อ ได้ทำการสักให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน ทางเดินสมัยก่อนต้องเดินเท้าเอา ลำบากมาก อย่างดี ก็ขี่จักรยาน รถ ๒ แถว มีเข้าวัด ๑ คัน ออก ๑ คัน เท่านั้น มีศิษย์สักมาก ได้จดบัญชีไว้ ๔ หมื่น ๔พันคน แล้วหลวงพ่อก็ไม่ได้จด ชื่อศิษย์อีกเลย ไม่ถามแม้แต่ชื่อ ศิษย์สักของหลวงพ่อหลายคนยิงไม่ออก เป็นเรื่องแปลกมาก ที่คนธรรมดาจะยิงไม่ออก

         ต่อมา หลวงพ่อเห็นว่าสมควรแก่เวลา หลวงพ่อได้หยุดสัก หลวงพ่อได้พูดกับศิษย์ว่า ถ้าท่านไม่เลิกสัก หลังคากุฏิท่านสามารถเอาแบงค์ ร้อยมามุ่งหลังคาแทนได้ (สมัยนั้นแบงค์ ๕๐๐ แบงค์๑,๐๐๐ ยังไม่มี) แล้วหลวงพ่อก็ทำแต่เรื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด, มีดหมอ, แหวนแขน, พระพิมพ์ ฯ ในสมัยนั้นเมื่อเสือเดินผ่านวัดหลวงพ่อ ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง ทั้งกลางวัน กลางคืน ในวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เข้าใจว่าหลวงพ่อคงจะกลับวัดบ้านแคมาก่อนหน้านี้หลายปี เพระจากคำบอกเล่าของคนเก่าเล่าไว้ว่า ใน สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงพ่อได้มาอยู่ที่วัดบ้านแค แล้วได้นำ ตะกรุดของครูบาอาจารย์มาแจก เป็นของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ก็มี เป็นของหลวงพ่อเดิมก็มี เป็นงาก็มี ที่หลวงพ่อทำเองก็มี เพราะมีคนมาขอกันมาก ตลอดจนสมัยนั้นมีเสือเข้ามาปล้นบ้านกันมากมาย บ้านเมืองข้าวยากหมากแพง ผู้คนเดือดร้อน บ้างก็เจ็บ ป่วย ไม่มีหมอ ไม่มียา พระกวยก็ช่วยจนสุดกำลัง คนก็เรียกกันว่า อาจารย์กวยบ้าง หลวงพ่อกวยบ้าง หลวงพ่อคร่ำเคร่งสักให้ ศิษย์บ้าง แจกเครื่องรางบ้าง พระบ้าง, ตะกรุดบ้าง, รักษาโรคบ้าง บ้านเมืองก็เกิดข้าวยากหมากแพง หลวงพ่อจึงตัดสินใจถือ ธุดงค์วัตรข้อฉันอาการเพยงมื้อเดียวมาตลอด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เรื่อยมา

ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจารย์ (คู่สวด)


------------------