หัวข้อ: 11.การนำพันธุ์พืชออกปลูกในสภาพธรรมชาติ เริ่มหัวข้อโดย: jacky ที่ เมษายน 04, 2010, 10:43:03 PM การนำพันธุ์พืชออกปลูกในสภาพธรรมชาติ
ต้นพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะมีรูปร่างทรงต้นเหมือนต้นพืชปกติในสภาพธรรมชาติ เพียงแต่มีขนาดเล็กโดยเฉลี่ย ควรจะมีความสูงประมาณ 4-8 ซม. มีใบไม่ต่ำกว่า 4 ใบ จำนวนรากไม่ต่ำกว่า 4 เส้น ความยาวรากอยู่ระหว่าง 3-5 ซม. เมื่อนำออกจากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เปรียบเสมือนการดูแลเด็กอ่อน เนื่องจากต้นพืช ยังมีการสร้าง สารคิวติน (cutin) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการสูญเสียน้ำจากใบน้อย ในขณะที่ปากใบยังเปิดกว้าง เมื่อนำออกมา สัมผัส กับอากาศ ที่มีสภาพแวดล้อม ทั้งแสง อุณหภูมิ ความชื้น ไม่สม่ำเสมอตลอดเวลา พืชจะคายน้ำมากขึ้น ทำให้เหี่ยวเฉาและตายได้ง่าย ดังนั้น การย้ายพืชเนื้อเยื่อจากอาหารวุ้นเพื่อปลูกในสภาพธรรมชาติ ต้องระมัดระวังเรื่องอัตราการสูญเสียน้ำของพืชเป็นพิเศษ จึงต้อง แบ่งเวลาดูแลพันธุ์พืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เพิ่งนำออกปลูก ออกเป็น 2 ระยะ เรียกว่า การอนุบาลระยะที่ 1 และการอนุบาลระยะที่ 2 การอนุบาลระยะที่ 1 เป็นระยะที่ต้นพืชต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และความเข้มแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชชนิดนั้นๆ เป็นช่วงเวลาการดูแลไม่ต่ำกว่า 30 วันตั้งแต่ย้ายปลูก การอนุบาลระยะที่ 2 เป็นการดูแลต่อจากระยะที่ 1 อีก 30-45 วัน ระยะนี้พืชจะมีความ แข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อม ได้มากขึ้นเมื่อผ่านการอนุบาลระยะที่ 2 แล้ว รวมทั้งสิ้นประมาณ 60-75 วัน ต้นพันธุ์พืชนั้น ๆ (บางชนิด) จะสามารถ ย้ายปลูก ในสภาพปลูกเลี้ยงปกติได้ การอนุบาลพันธุ์พืชจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตลอดระยะเวลา 60-75 วัน เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือจัดเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นการศึกษาหาแนวทาง การผลิตพันธุ์พืชโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในเชิงเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรม ต้องควบคู่ไปกับการนำพืชออกปลูกในสภาพธรรมชาติ ด้วยเสมอ (http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0czg7-463a30.jpg) กล้วยระยะอนุบาล 1 (http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0czgp-9abab9.jpg) กล้วยระยะอนุบาล 2 ขั้นตอนการนำพืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกปลูก ก่อนเข้าถึงขั้นตอนการดูแลหรือการอนุบาลพืชเนื้อเยื่อระยะต่างๆ ควรมีการปรับสภาพพืชให้เริ่มเรียนรู้และค่อยๆ ปรับตัว อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติได้ โดยเพิ่มความเข้มแสง ลดความชื้นภายในภาชนะลดลง อาจใช้วิธีนำขวดเนื้อเยื่อพืช ออกมาวาง ในสภาพอุณหภูมิห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ระยะเวลา 2-3 วันแรกตามลำดับ ดังนี้ (http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0czi4-cdfccb.jpg) 1. ปรับสภาพเนื้อเยื่อพืช 2-3 วัน ก่อนปลูกในสภาพอุณหภูมิห้องปกติ ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก (http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0czio-92bd8a.jpg) 2. นำต้นพืชออกจากภาชนะที่เพาะเลี้ยง ด้วยฟอร์เซบหรือปากคีบ (http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0czk9-af0dfa.jpg) 3. ล้างอาหารวุ้นที่ติดอยู่บริเวณ รากพืชออกให้หมดด้วยน้ำไหล ที่ไม่แรงเกินไป เพราะอาจทำให้ รากขาดได้ (http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0czkk-33af6b.jpg) 4. นำต้นพืชแช่สารป้องกันเชื้อรา และแบคทีเรียเป็นเวลา 3-5 นาที ก่อนปลูก เพื่อป้องกันโรคต้นเน่า เนื่องจากพืชยังอ่อนแอต่อการ เข้าทำลายของเชื้อโรค (http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0czla-9d4f54.jpg) 5. นำมาปลูกในถาดเพาะชำ หรือเข้าสู่การอนุบาลระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ตามลำดับ ********************************* |