หน้าร้านดีดี บอร์ด

เกษตร Zone => การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ => ข้อความที่เริ่มโดย: jacky ที่ เมษายน 04, 2010, 11:08:36 PM



หัวข้อ: 14.ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เริ่มหัวข้อโดย: jacky ที่ เมษายน 04, 2010, 11:08:36 PM
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

(http://forum.narandd.com/imageupload/image/l0d0u1-43572c.gif)  มีการเผยแพร่ผลงานที่เกี่ยวข้องกับหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกันแต่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงปัญหา และอุปสรรคที่พบ   เมื่อมีการนำมาปฏิบัติจริง  
โดยเฉพาะเพื่อการขยายผลในเชิงการค้ากับกลุ่มพืชเศรษฐกิจ      มักไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจาก ค่าการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ความผิดพลาด ในการชั่งตวงวัดความไม่บริสุทธิ์ของน้ำที่ใช้ เป็นต้นในที่นี้จะกล่าวถึงปัญหาอุปสรรคที่พบเสมอ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะของต้นพืชระหว่างดำเนินการพอสรุปได้ดังนี้
  1. ความผิดปกติที่เกิดกับต้นพืช  หมายถึง  ต้นพืชจะแสดงลักษณะที่ผิดไปจากสภาพการเจริญเติบโตปกติ อาจมีสาเหตุมาจากวิธีการดำเนินงาน
  ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่น การใช้สารเร่งการเจริญเติบโตหรืออื่น ๆ  ในอัตราที่เข้มข้นมากเกินไปเป็นเวลานานเกินไป   หรือแม้แต่การตัดชิ้นพืชที่มีขนาดแตกต่างกันหรือการเว้นระยะห่างระหว่างพืชที่วางในขวดต่างกันล้วนแล้วแต่อาจจะเป็นสาเหตุของความผิดปกติของต้นพืชได้ทั้งสิ้นเช่น
  -- อาการด่างขาว เป็นอาการที่ใบพืชจะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นขาว มีทั้งแบบสีขาวทั้งใบ สีขาวครึ่งใบ    หรือสีขาว ตามขอบใบ
  -- อาการฉ่ำน้ำ (Vitrification) เป็นอาการผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจน บริเวณใบจะใสเหมือนแก้ว   อาจมีสาเหตุจาก ปริมาณน้ำภายในเซลล์มากเกินไป ถ้าย้ายออกปลูก มักจะตายในที่สุด
  -- ต้นพืชหยุดเจริญเติบโตด้านความสูง
  -- อาการยอดบิดเบี้ยว ใบแคบเล็ก หรือไม่มีใบ
  -- ต้นพืชมีการเจริญเติบโตและพัฒนาไม่พร้อมกัน ทำให้แผนการเพิ่มปริมาณอาจผิดพลาดไปได้   เนื่องจากต้องคัดเลือกต้นที่มีความสูงมาก เข้าสู่ระยะการชักนำราก
ส่วนต้นที่มีความสูงน้อย      นำมาเพิ่มปริมาณยอดต่อไปได้              
  2. การปนเปื้อนของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ในขวดเนื้อเยื่อพืช
  3. พืชหลายชนิดสามารถขยายเพิ่มปริมาณได้มาก แต่เมื่อถึงระยะสุดท้าย      ต้นพืชไม่ตอบสนอง  ในระยะการชักนำราก ถึงแม้ว่าจะผ่านการทดสอบใน
ขั้นตอนดังกล่าวแล้ว
  4. ความไม่เป็นปัจจุบันของสายพันธุ์ภายหลังการผลิต-ขยาย บรรลุเป้าหมายแล้ว อาจพบกับกลุ่มไม้ดอก  เนื่องจากความนิยมเรื่องสายพันธุ์ เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว
  5. ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของต้นพืช (Somaclonal variation)       เป็นลักษณะของต้นพืชที่แตกต่างไปจากเดิม อาจเป็นการเปลี่ยนแปลง
โดยถาวรหรือกลับมาเป็นแบบเดิมก็ได้
      ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างส่งผลให้ต้นพืชเหล่านั้น เจริญเติบโตน้อยลง หรือตายในที่สุด   การหาวิธีแก้ไขคงเป็นไปได้ยาก แต่ควรเริ่มต้นทำงานใหม่ด้วยความระมัดระวัง ในทุกลำดับขั้นตอน ตั้งแต่การฟอกฆ่าเชื้อ       วิธีการตัด และวางเนื้อเยื่อพืช สูตรอาหารที่ใช้ เทคนิคปลอดเชื้อ ความสะอาดของเครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว  เป็นต้น แต่ปัญหาอุปสรรคที่เกิดกับงานขยายพันธุ์พืชด้วยวิธี    เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ หากปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และให้ความสำคัญกับเทคนิคปลอดเชื้อ ผลสำเร็จของงานผลิต-ขยายพันธุ์พืชบรรลุวัตถุประสงค์แน่นอน


**************************************