หน้าร้านดีดี บอร์ด

พระเกจิอาจารย์ => พญานาคราช => ข้อความที่เริ่มโดย: jacky ที่ พฤษภาคม 07, 2010, 08:41:20 PM



หัวข้อ: ภูผาเหล็ก - คลังมหาสมบัติพญานาคราช
เริ่มหัวข้อโดย: jacky ที่ พฤษภาคม 07, 2010, 08:41:20 PM
ภูผาเหล็ก - คลังมหาสมบัติพญานาคราช


พญาศรีสุทโธ เจ้าแห่งนครบาดาล เทพผู้สร้างปาฏิหาริย์บนพื้นพิภพ
               
                   เมื่อครั้งดึกดำบรรพ์มีการกล่าวขานถึงนิทานปรัมปรา ที่ดูท่าน่าจะเป็นจริง เมื่อเราได้นึกถึง สถานที่ เหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานที่ที่เล่ากันว่าเป็นพำนักของพญาศรีสุทโธ เจ้าแห่งนครบาลผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น หนองแส ธาตุหลวง  หนองคันแท ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พรหมประกายโลก (คำชะโนด) หนองอ้อมเกาะ (อ้อมกอ)และภูผาเหล็ก ซึ่งล้วนแต่เล่าขานกันว่าเป็นทางผ่าน เป็นที่ประทับของพญาศรีสุทโธ และจะมีปรากฏปาฏิหาริย์ เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนใกล้ชิด ตามตำนานที่เล่าขานกันมา


                มีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อก่อนหนองกระแส ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศลาว เป็นเมืองที่พญานาราชครอบครองอยู่โดยแบ่งหนองกระแสออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นเขตครอบครองของสุทโธนาค และอีกส่วนหนึ่งเป็นเขตปกครองของสุวรรณนาค ซึ่งทั้งสองมีความรักใคร่กันมากไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ต่อมาสุทโธนาคได้มีอาหารเป็นเนื้อช้างซึ่งมีจำนวนมากมายเต็มลำเกวียนพร้อมขนหางซึ่งถือว่าเป็นมงคลมอบให้ไปด้วย ซึ่งทำให้เกิดความพึงพอใจของสุวรรณนาคยิ่งนัก ครั้นต่อมาสุวรรณนาคมีอาหารเป็นเม่นซึ่งเป็นของอร่อยจึงแบ่งแล้วใช้เรียวไม้ร้อยเป็นพวง พร้อมกับขนเม่นให้เป็นของที่ระลึก ไปส่งให้สุทโธนาค  เมื่อสุทโธนาคเห็นดังนั้นคิดว่า เนื้อช้างที่เราส่งให้ขนหางเล็กนิดเดียวยังได้เนื้อเต็มลำเกวียน  นี่ขนเม่นโตขนาดนี้มีเนื้อให้พวงไม้ร้อยเดียว จึงทำให้เกิดความโกรธแค้นเป็นยิ่งนัก สุทโธนาคจึงนำไพร่พลทหารกรีฑาทัพท้ารบกับสุวรรณนาค และเกิดสงครามกันนานถึง 7 ปี ซึ่งต่างฝ่ายต้องการชัยชนะจากสงครามและขับไล่ฝ่ายตรงข้ามออกจากหนองกระแสและจะทำการครอบครองหนองกระแสแต่ผู้เดียว


                การสู้รบของพญานาคทั้งสองทำให้พื้นพิภพสั่นสะเทือนไปทั่ว เกิดความเดือดร้อนไปจนถึงทั้งสามภพ คือ บาลดาล มนุษย์ และสวรรค์ เมื่อความทราบถึงพระอินทร์จึงได้เสด็จลงมายังมนุษย์โลกเพื่อสอบสวนเมื่อทราบความแล้วจึงสั่งให้พญานาคทั้งสองเลิกสงครามหันมาแข่งขันกันสร้างแม่น้ำออกจากหนองแส ไปจนถึงปากน้ำทะเลหากใครถึงก่อนเป็นผู้ชนะและให้ครอบครองแม่น้ำแห่งนั้น  เมื่อรับคำบัญชาจากพระอินทร์แล้ว พญานาคราชทั้งสองจึงนำไพร่พลทำการขุดแม่น้ำออกจากหนองแสทันที สุวรรณนาคเป็นพญานาคราชที่มีความละเอียดอ่อน มีความเป็นระเบียบจึงสั่งให้ไพร่พลขุดแม่น้ำให้ตรง จึงทำให้ต้องใช้เวลานานในการขุดแม่น้ำและได้แม่น้ำไม่ยาวนักจนทำให้แพ้ในการแข่งขัน จึงเรียกว่า “แม่น้ำนาน” และให้เป็นที่ครอบครองของสุวรรณนาคพร้อมบริวาร จึงได้ขนานนามว่า “แม่น้ำน่าน แห่งสุวรรณภูมิ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของสุวรรณนาค ซึ่งเป็นผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันและเราได้ขนานนามแผ่นดินแห่งนี้ว่า “สุวรรณภูมิ” มาตราบเท่าทุกวันนี้


                ฝ่ายสุทโธนาค เมื่อได้รับคำบัญชา จึงได้กรีฑาไพร่พลทำการขุดแม่น้ำออกจากหนองกระแสไปทางทิศตะวันออก ทันที่ เนื่องจากว่า สุทโธนาค เป็นพญานาคราชที่ใจร้อนและมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงสั่งให่ไพร่พลขุดแม่น้ำเมื่อมีภูเขาขวางหน้าก็สั่งให้ไพร่พลขุดไปตามซอกหินและภูเขาอย่างรีบเร่งทำให้เกิดความคดโค้ง บางที่มีความลึกมากบางแห่งที่เป็นภูเขาก็ขุดให้กว้าง ตามซอกถ้ำและหินผา จนทะลุถึงทะเลตามคำบัญชาของพระอินทร์ก่อนสุวรรณนาค เมื่อสำเร็จจึงนำความกราบทูลต่อพระอินทร์ เพื่อวินิจฉัย พระอินทร์จึงทรงประกาศให้สุทโธนาคเป็นฝ่ายชนะ และให้แม่น้ำนี้ชื่อว่า “แม่น้ำโค้ง” และได้แผงมาเป็น “แม่น้ำโขง” จนปัจจุบัน โดยให้สุทโธนาคพาข้าทาสบริวารและไพร่พลอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง ทรงอนุญาตให้เกิดมีปลาบึกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งแม่น้ำ และให้เป็นผู้ครอบครองนครบาดาลแต่เพียงผู้เดียว และได้ขนานนามว่า “พญาศรีสุทโธ” โดยอนุญาตให้มีประตูขึ้นสูงโลกมนุษย์ จำนวน สาม แห่ง คือ ที่ตั้งเมืองนครเวียงจันทร์และเจ้าผู้ปกครองแห่งนครเวียงจันทร์ได้ก่อสร้างพระธาตุหลวงปิดทางขึ้นเอาไว้ในปัจจุบัน ที่หนองคัแท ในประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และที่พรหมประกายโลก (คำชะโนด) พรหมประกายโลกหมายถึงที่ที่ เทวดาลักลอบลงมากินดินจนทำให้หมดอิทธิ์ฤทธิ์ กลายเป็นกึ่งเทพกึ่งมนุษย์ (ภาษาพื้นบ้านโบราณเรียกว่า ผีบังบด) เป็นข้ารับใช้ให้กับพญานาคราชศรีสุทโธนาค และทรงอนุญาตให้ พญาศรีสุทโธ กลายร่างเป็นมนุษย์ได้ในวันข้างขึ้น 15 วัน และให้กลายร่างเป็นพญานาคราชในวันข้างแรม 15 วัน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


คลังมหาสมบัติพญานาคราช
 
เส้นทางสู่คลังมหาสมบัติ

                       มีการเล่าขานกันมาว่า เมื่อครั้งพญานาคาราชศรีสุทโธ ได้รับบัญชาจากพระอินทร์ให้ขุดแม่น้ำแข่งขันกับสุวรรณนาค นั้น และจะประทานให้แม่น้ำที่ทำการขุดให้เป็นที่ครอบครอง เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการขุดแม่น้ำโขง และได้รับประทานุญาตให้แม่น้ำโขง เป็นที่ครอบครองแล้วพญาศรีสุทโธ เจ้าแห่งนครบาดาลจึงได้ย้ายที่ประทับในพื้นที่ครอบครองเดิมที่หนองกระแส มายังแม่น้ำโขง เนื่องจากพญาศรีสุทโธเป็นจอมนาคาที่มี ไพร่พล ข้าทาสบริวารมาก และทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลทั้งจากหนองกระแส และนครบาดาล  เพื่อเป็นเตรียมพร้อมในการทำสงครามและหาสถานที่จัดเก็บมหาสมบัติซึ่งประกอบด้วย เหล็กไหลน้ำผึ้ง แก้วเสด็จ และเพชรพญานาค  จึงได้สั่งให้ไพร่พลทำการขุดแม่น้ำออกจากแม่น้ำโขงลงมาทางด้านทิศใต้ บริเวณ ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในปัจจุบัน   ลัดเลาะไปตามช่องเขาผ่านที่ราบและภูเขาหลายแห่งลงไปทางด้านทิศใต้ ผ่านอำเภอบ้านแพง อำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา อำเภอคำตะกล้า อำเภอบ้านม่วงในช่วงนี้แม่น้ำสงครามเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสกลนครกับจังหวัดอุดรธานี   

เริ่มอำเภอบ้านม่วงและอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กับอำเภอบ้านดุง อำเภอทุ่งฝน อำเภอหนองหานไปจดภูผาเหล็ก ที่อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายส่วนปลายของเทือกเขาภูพาน และเป็นภูเขาที่ไม่สูงมากนักและมีบริเวณกว้างและยาวมีอาณาเขตติดต่อกันระหว่างอำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และเพียงพอที่จะเก็บมหาสมบัติของพญานาคราชศรีสุทโธได้และเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสงคราม

บัลลังก์พญานาคราชศรีสุทโธ

ในช่วงเขตของอำเภอบ้านดุงเป็นส่วนที่แม่น้ำสงครามใกล้กับพรหมประกายโลก (คำชะโนด) ซึ่งเป็นประตูเมืองจากนครบาดาลมายังโลกมนุษย์มากที่สุด เชื่อกันว่าพญานาคราชศรีสุทโธได้ใช้เป็นเส้นทางในการขนย้ายมหาสมบัติขึ้นจากนครบาดาล ไปยังคลังมหาสมบัติต้นแม่น้ำสงครามในการเดินทางขนย้ายมหาสมบัติของพญาศรีสุทโธ    เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งนักในปัจจุบัน เมื่อปรากฏว่ามีเกาะหินทรายที่มีรอยประทับของพญาศรี    สุทโธลงบนหินทรายภายในเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่น้อยแตกต่างกันไป และมีน้ำไหลล้อมรอบอยู่ระหว่างเส้นทางเดินจากพรหมประกายโลกไปยังแม่น้ำสงคราม และบริเวณเกาะกลางแอ่งน้ำนี้มีสภาพที่มีบ่อน้ำผุดขึ้นจากใต้ดินรอบบริเวณเกาะ คล้ายกับบ่อน้ำที่เรียกว่าเป็นประตูเมืองของนครบาดาลที่พรหมประกายโลก (คำชะโนด) หลายบ่อรอบบริเวณเกาะและเป็นที่น่าจะเชื่อได้ว่าเป็นอีกประตูหนึ่งหรือ หลาย ๆ ประตู ที่เป็นเส้นทางจากนครบาดาลสู่เมืองมนุษย์

1. บริเวณภายนอกเกาะทางด้านทิศเหนือเป็นบ่อขนาดใหญ่ที่มีน้ำไหลออกมาตลอดปีและไหลแรงมาก ซึ่งเคยปรากกว่าน้ำจากบ่อนี้ไหลพุ่งขึ้นจากบ่อมีความสูง 2 – 3 เมตร และจะไหลลงไปยังร่องน้ำรอบเกาะ ปัจจุบันทางหมู่บ้านก่อสร้างท่อขนาดใหญ่เก็บกักน้ำและทำท่อส่งน้ำไปใช้อุปโภคบริโภคภายในหมู่บ้าน

2. บ่อน้ำทางด้านทิศตะวันออก เป็นบ่อขนาดใหญ่ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ทำการบูรณะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร มีน้ำไหลออกมาตลอดปีอ้อมเกาะลงไปทางด้านทิศใต้


3. บ่อน้ำทางด้านทิศตะวันตก เป็นบ่อน้ำที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำภายนอกเกาะ มีน้ำไหลออกมาจากซอกหินภายในเกาะ ในปัจจุบันชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับบ่อน้ำที่คำชะโนด และจะนำน้ำจากบ่อน้ำแห่งนี้ไปประกอบพิธีบวงสรวงเจ้าปู่หอคำ ทุกปี


4. เป็นบ่อน้ำขนาดเล็กทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งไหลออกมาจากซอกหินภายใต้ฐานเจดีย์โบราณ และเป็นที่ตั้งของใบเสมาหิน ทางด้านทิศใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้มีต้นตะเคียนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตรเกิดทับเอาไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อต้นตะเคียนโค่นล้มลง จึงปรากฏเห็นเป็นบ่อน้ำที่ไหลออกมาและมีใบเสมาหินทรายที่มีร่องรอยการตัดหินทรายทำเป็นใบเสมา

น้ำทั้งที่ผุดออกมาจากบ่อน้ำภายในเกาะทั้ง 4 แห่งจะไหลอ้อมเกาะ
ลงมาทั้งทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ลงไปทางด้านทิศใต้ของเกาะและไหลลงสู่แม่น้ำสงคราม

------------------------------------------------