หน้าร้านดีดี บอร์ด

Holoworld => ดวงชะตาคนดัง => ข้อความที่เริ่มโดย: wywy ที่ มิถุนายน 19, 2010, 10:16:40 PM



หัวข้อ: โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑) “โหราศาสตร์” พิธีกรรม 2/2
เริ่มหัวข้อโดย: wywy ที่ มิถุนายน 19, 2010, 10:16:40 PM
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑) “โหราศาสตร์” พิธีกรรม    2/2

๑๑. พิธีเบิกเนตรหลักเมือง กระทำกันต่อเนื่องถึง ๓ วัน คือ วันที่ ๓- ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ วันที่ ๓ มีนาคม อัญเชิญหลักเมืองที่แกะสลักเรียบร้อยแล้ว  ไป ประดิษฐานที่วิหารหลวง วัดบรมธาตุ หลังจากพระเถระเจริญพระพุทธมนต์ และเจ้าพิธีรำกระบี่โบราณถวายสักการะแล้ว ก็ เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนนราชดำเนิน ไปยังตลาดท่าวัง แล้ววกกลับสู่สนามหน้าเมือง อัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่สนามหน้าเมือง อัญเชิญหลักเมืองเมืองขึ้นสู่ที่ประดิษฐานชั่วคราว ให้ประชาชนสักการะ ขบวนช้าง – ม้า ศิลปินพื้นบ้านกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ วงดุริยางค์ และ ประชาชนจากทั่วสารทิศ ขบวนยาวประมาณ  ๒  กิโลเมตร ประชาชนคอยชมขบวนมืดฟ้ามัวดิน เป็นประวัติการณ์วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมารับมอบหลักเมืองเป็นของทางราชการ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ตอนค่ำมีพิธีสงฆ์ จากนั้นเจ้าพิธีคือ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช  อ่านโองการเชิญเทวดา ต่อมาท่านประธาน (สัมพันธ์ ทองสมัคร) จุด เทียนชัย เจ้าพิธีทำพิธีเบิกเนตรหลักเมืองทั้ง ๘ ทิศ อันเป็นการประจุจิตวิญญาณของเทวดารักษาเมือง เข้าไปสิงสถิตภายในเสาหลักเมือง ให้สามารถรับรู้เหตุการณ์ และคุ้มครองดูแลได้รอบทิศ จากนั้นมีการจุดพลุถวายสักการะ มีข้าราชการพ่อค้า และประชาชน ร่วมปิดทองสักการะเป็นเสร็จพิธี  

๑๒. พิธีการ เจิมยอดชัยหลักเมือง เป็นพิธีกรรมที่สำคัญยิ่ง และถือเป็นมงคลสูงสุด คือ ทรงเจิมยอดชัยหลักเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลัดกระทรวง มหาดไทย (นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร) นำคณะอันประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นายอำนวย ไทยานนท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายกำจร สถิรกุล) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นายอนันต์ อนันตกูล) วุฒิสมาชิก (นายศิริชัย บุลกุล) พร้อม ด้วยข้าราชการ และประชาชน ผู้ร่วมจัดสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นำยอดชัยหลักเมืองเพื่อทรงเจิม ในวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ยอดชัยหลักเมืองที่ทรงเจิมในวันนั้น นอกจากของจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วยังมีหลักเมืองจังหวัดชัยนาท และจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ได้บันทึกเหตุการณ์วันนั้นไว้ มีความตอนหนึ่ง ดังนี้“........คราว นั้น คณะกรรมการสร้างหลักเมืองได้นำวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นตามแบบแผนโบราณ จำนวน ๑๓ ชิ้น พร้อมด้วยภาพถ่ายหลักเมือง น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายในวันนั้นด้วยผมเองเป็นกังวลใจมาก เพราะ ว่าบุคคลซึ่งเตรียมไว้ว่า จะต้องทำหน้าที่กราบบังคมทูล คือ ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธีโดยตรง แต่ก่อนหน้าจะถึงกำหนดเข้าเฝ้า ฯ ท่านขุนพันธ์เกิดป่วย ไม่สามารถจะเข้าเฝ้าได้ ทางจังหวัด โดยท่านรอง ฯ อำนวย ไทยานนท์ ได้ขอร้องให้ผมไปทำหน้าที่แทน แต่ผมกังวลใจ เพราะไม่ทราบเรื่องราวของวัตถุมงคล ๑๓ ชิน ว่ามีความเป็นมาอย่างไรท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้อ่านคำกราบบังคมทูล และได้กล่าวถึงวัตถุมงคล ที่ได้สร้างในพิธีกรรมสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชด้วย เมื่อทรงพระสุหร่าย และทรงเจิมยอดเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทรงมีรับสั่งให้ตามเสด็จไปยังบริเวณที่วางวัตถุมงคลที่จะนำขึ้นทูลเกล้า ฯทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า หลักเมืองกรุงเทพ ฯ นั้น คนนคร ฯ ก็มาช่วยสร้างเหมือนกัน เพราะเขาเข้าใจเรื่องการสร้างหลักเมือง มีเทวดาเหาะรอบ ๆ ยอดเสาหลักเมืองอยู่ ๘ องค์ แต่หลักเมืองนคร ฯ ที่สร้างขึ้นครั้งนี้ เทวดาไม่ได้เหาะ แต่แกะสลักไว้ที่ยอดเสาหลักเมือง ให้เฝ้าทิศทั้งแปดจากนั้นได้ทอดพระเนตรวัตถุมงคลทุกชิ้น พร้อมกับทรงอธิบายให้ผมฟังถึงความเป็นมา และการใช้สอยเกี่ยวกับวัตถุมงคลแต่ละชิ้นได้อย่างลึกซึ้ง ประหนึ่งทรงอยู่ในเหตุการณ์ด้วย เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจในพระปรีชาญาณยิ่งนัก”

๑๓. พิธีแห่ยอดชัยหลักเมือง กระทำวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นการต้อนรับยอดชัยหลักเมือง ซึ่งคณะฯ โดยการนำของรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นายอำนวย ไทยานนท์) นำมาจากกรุงเทพมหานคร โดยแห่จากสนามบินกองทัพภาคที่ ๔ มายังสนามหน้าเมือง มีขบวนช้างศึก ม้าศึก และประชาชนจำนวนมาก

๑๔. พิธีอัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ศาลถาวร โดยผู้ว่าราชการจังหวัด (นายนิพนธ์ บุญญภัทโร) เป็นประธาน๑๕. พิธีสวมยอดชัยหลักเมือง เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยพลเอก สุจินดา คราประยูร (รองผู้บัญชาการทหารบก ตำแหน่งในสมัยนั้น)

๑๖. พิธีเททองปลียอดศาลหลักเมือง และศาลบริวาร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
โดยมีนาย บัญญัติ บรรทัดฐาน ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีจากขั้นตอนพิธีกรรมต่าง ๆ ในการสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้นำมาเสนอ เราจะเห็นได้ว่า พิธีกรรมและขั้นตอนส่วนใหญ่ นอกจากจะใช้ไสยศาสตร์ พุทธเวทวิทยาคมในการประกอบพิธีแล้ว ทุกพิธีกรรมที่สำคัญ จะต้องกำหนดฤกษ์ยามที่จะทำการนั้น ๆ ให้ถูกต้อง ตามแบบแผนโบราณที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้น ภัยพิบัติจะตามมาในภายหลัง แต่ถ้าทำทุกสิ่งทุกอย่างถูกต้องตามหลักวิชาโหราศาสตร์  และไสยเวทวิทยาคมแล้วล่ะก็  จะนำซึ่งความสุขสวัสดิ์ พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลแก่ผู้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฤกษ์ยาม และพิธีกรรมต่าง ๆ นั้นอย่างแน่นอน และความจริงก็ได้ปรากฎให้เห็นในยุคสมัยปัจจุบันแล้วว่า เมืองนครศรีธรรมราช ภายหลังที่ได้บรรจุดวงเมืองขึ้นมาใหม่แล้ว เกิดอะไรขึ้นมาบ้างในระยะ ๒๐ ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ชัดเจน ถึงความผาสุก สงบร่มเย็น ประชาชนอยู่ดีมีสุข ยิ่งเศรษฐกิจเมืองนคร ฯ ในยุคที่ผู้คนนิยมในวัตถุมงคลในองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ทั่วบ้านทั่วเมือง กระจายไปยังคนไทย ลาว เขมร และชาวพุทธทั่วโลก ชนิดฉุดไม่ยั้ง รั้งไม่อยู่ กู่ไม่กลับด้วยแล้ว มีเม็ดเงิน หรือกระแสเงินสะพัด ไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทต่อเดือนเชียวแหละครับเรื่องอะไรก็ตามหากต้องเกี่ยวพันกับผู้คนส่วนมาก ทุกผู้คนในบ้านเมือง หรือประเทศชาติแล้วล่ะก็  ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่จะมาทำกันเล่น ๆ  หรือทำกันแบบง่าย ๆ รวก  ๆ แบบสุกเอาเผากิน ยิ่งการสร้างบ้านแปลงเมือง การย้ายเมือง การสร้างเมืองใหม่ ที่จะต้องมีการสร้างเสาหลักเมือง มีการบรรจุดวงเมือง หรือ ฝังหัวใจเมืองแล้วไซร้ จะต้องเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ  หรือ ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินโดยเฉพาะ และขั้นตอนพิธีกรรมต่าง ๆ จะต้องใช้ผู้รู้ในทางโหราศาสตร์ และไสยเวทวิทยาคม ที่เข้าใจแบบแผนพิธีการต่าง ๆ อย่างถูกต้อง จึงจะทำได้สำเร็จ ไม่เกิดทุกข์ภัยตามมาในภายหลังในประวัติศาสตร์ชาติไทยของเรา มีการย้ายเมืองหลวง หรือ ตั้งราชธานีขึ้นมาใหม่ และได้มีการฝังเสาหลักเมือง บรรจุดวงเมืองหลายครั้งหลายครา เท่าที่เห็นและปรากฏเด่นชัด ก็คือ ดวงเมืองกรุงศรีอยุธยา ที่พระเจ้าอู่ทอง ท่านทรงสถาปนาดวงเมืองขึ้นมาใหม่ ย้ายเมืองหลวงจากที่เก่ามาสู่ที่ใหม่ , ดวงเมืองบางกอก ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาขึ้นมา หลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา และการสิ้นสุดกรุงธนบุรี กรุงธนบุรี เมื่อแรกเริ่มประดิษฐานบ้านเมือง ใช้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยานั้น ไม่ได้มีการสร้างบ้านเมืองตามแบบแผนโบราณ ด้วยการฝังเสาหลักเมือง หรือ บรรจุดวงเมือง แต่อย่างใด ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะอยู่ในขณะที่บ้านเมืองของไทยเรา แตกกระสานซ่านเซ็นเป็นก๊กเป็นเหล่าต่าง ๆ ถึง ๕ ชุมนุม ต้องทำสงครามกับคนไทยด้วยกันเอง ทั้งนี้เพื่อรวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นอกเหนือไปจากการทำสงครามกับพม่า ลาว เขมร ตลอดรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีวาระกาลเพียง ๑๕ ปี เท่านั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการตั้งราชธานีแห่งใหม่ และทรงกระทำทุกวิถีทาง ที่จะรักษาบ้านเมืองของไทยเรา ไม่ให้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า หรือประเทศอื่น ๆ ดังนั้น จึงทรงสถาปนาดวงเมืองบางกอกขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เวลา ๑๑.๕๔ น.ซึ่งดวงเมืองบางกอกของไทยที่สถาปนาขึ้น มีทั้งข้อดีข้อเสียคละเคล้ากันไป ข้อดีส่วนใหญ่ จะมุ่งไปยังการรักษาบ้านเมือง และรักษาราชวงศ์จักรีให้คงอยู่ตลอดกาลนาน ส่วนข้อเสีย จะเป็นเรื่องของการปฏิวัติรัฐประหาร การแย่งชิงอำนาจกันเองในหมู่คนไทย การถูกครอบงำโดยเผด็จการทหาร การคอรัปชั่น โกงกินบ้านเมือง ซึ่งจะส่งผลทำให้ประเทศชาติของเรา ต้องล่มสลายทางเศรษฐกิจได้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ท่านทรงมีพระราชปรีชาในด้านโหราศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย พระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาจากดวงเมืองบางกอกในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นอย่างดี จึงทรงหาวิธีการแก้ไข เท่าที่จะทำได้ในขณะนั้น จึงได้มีการสถาปนาดวงเมืองบางกอกขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งดวง เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕ เวลา ๑๑.๑๙ น.ซึ่งดวงเมืองบางกอกใหม่นี้ ได้ประดิษฐานคู่กับดวงเมืองบางกอกเก่า ที่ยังไม่ได้มีการรื้อถอน หรือทำลายให้สิ้นสุด ยังคงมีอิทธิพลต่อบ้านเมืองของไทยเราอยู่จนทุกวันนี้ และการที่สถาปนาดวงเมืองขึ้นมาใหม่ ก็เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนดวงเมืองเก่าให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความมั่นคงของประเทศชาติ และราชวงศ์จักรี ทำให้ไทยเราหลุดพ้นจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสมาได้ และราชวงศ์จักรีของไทยเรา ไม่มีการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง ไม่มีผู้ใดจะมาล้มล้างลงไปได้ แม้ว่าจะอยู่ในภาวะที่ล่อแหลมอย่างมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ ก็ตามย้อนกลับมายังดวงเมืองนครศรีธรรมราช ที่ชาวนครศรีธรรมราชสร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการเผาดวงเมืองเก่า และสร้างดวงเมืองขึ้นมาใหม่ ในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นมา จนมาสิ้นสุดพิธีกรรมขั้นตอนสุดท้าย ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ ใช้เวลายาวนานถึง ๑๓ ปี แม้การประกอบพิธีกรรมตามขั้นตอนต่าง ๆ จะไม่ได้ริเริ่ม และดำเนินการจากองค์พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรีโดยตรง แต่การริเริ่มและดำเนินการ ก็เกิดขึ้นจากผู้เป็นใหญ่ในบ้านเมือง คือ จังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนั้น โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ประกอบไปด้วยบุคคลหลายฝ่าย ทั้งข้าราชการ ตำรวจ ทหาร พ่อค้า ประชาชนทั่วไป ร่วมกันดำเนินการต่าง ๆและที่สำคัญ ผู้ที่มีความประสงค์ในการเผาดวงเมืองเก่า สร้างดวงเมืองใหม่ที่แท้จริงก็คือ องค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ พระเสื้อเมือง พระทรงเมืองของเมืองนครศรีธรรมราช ที่ทรงประทับร่าง ผ่านร่างทรง และได้ทรงกำหนดขั้นตอนพิธีกรรมต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามแบบแผนโบราณอาณาจักรศรีวิชัย ให้กับคณะผู้ดำเนินการ ก็เท่ากับ การประกอบพิธีกรรมการสร้างเสาหลักเมืองใหม่ บรรจุดวงเมืองใหม่ กระทำโดยองค์พระมหากษัตรยิ์ เพราะพระองค์ท่านทั้งสอง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรศรีวิชัย และทรงสถาปนาดวงเมืองดังกล่าวขึ้นมา เมื่อทรงเห็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของดวงเมือง และส่งผลมายังบ้านเมือง พสกนิกรของพระองค์ จึงทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไข แม้กระทำไม่ได้ในรัชสมัยของพระองค์ที่ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ดวงพระวิญญาณก็มิได้ทรงเสด็จไปไหน ยังคงสิงสถิตย์อยู่ในพระบรมรูปของพระองค์ที่วิหารทรงม้า ตรงบันไดทางขึ้นลานประทักษิณ พระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อรอคอยบุคคลที่จะมาทำการแก้ไขให้ เป็นระยะเวลายาวนานนับพันปี และทุกอย่างก็เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านทั้งสองทุกประการในกาล


-----------------------------------