หน้าร้านดีดี บอร์ด

คนรักเชียงใหม่,ลำพูน, => ตะลุยเดี่ยวกินเที่ยว กับ รวิวรรณ => ข้อความที่เริ่มโดย: rawi ที่ สิงหาคม 27, 2010, 09:54:10 PM



หัวข้อ: ตำนานย่อเมืองหริภุญชัย
เริ่มหัวข้อโดย: rawi ที่ สิงหาคม 27, 2010, 09:54:10 PM

(http://forum.narandd.com/imageupload/image/l7tg1n-1a95f4.jpg)



มีตำนานเมืองเหนือเล่าว่า ก่อนสมัย ๑๒๐๐ ปี มีกษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองลำพูน มีนิสัยโลเล มิอยู่ใน  ทศพิธราชธรรม เสวยแต่น้ำจันทร์มัวเมาด้วยอิสสตรี ไม่มีศีลธรรม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง เสนาข้าราชการบริพาสล้วนแต่ประจบสอพลอ เทพยดารักษาเมืองก็พิโรธ ก็เกิดโรคภัยพลเมืองล้มตายและแล้วพระพิรุณก็กระหน่ำ จึงมีอุทกภัยเกิดขึ้น น้ำนองท่วมท้น มนุษย์และสัตว์หนีมิทันล้มตายไปกับแม่น้ำคงคา ครั้งเมื่อน้ำลดลงแล้วเมือง        หริภุญชัยก็เป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว สาเหตุที่ทำให้เมืองลำพูนร้าง น้ำท่วมตาย เพราะเจ้าเมืององค์นี้ได้มีแม่หม้ายไปร้องทุกข์กล่าวหาว่าลูกได้ตีแม่จึงนำความไปฟ้องเจ้าเมืองเพื่อให้ตัดสินคดีที่ลูกตีแม่ครั้งนี้ เจ้าเมืองฟังแล้วกลับตรัสตอบว่า เด็งดัง เพราะลูก “เพราะฉะนั้นการที่ลูกตีแม่จึงไม่มีความผิดใดๆ” ทำให้แม่หม้ายคนนั้นเสียอกเสียใจอย่างมาก จึงนั่งลงกราบแม่ธรณี อธิษฐานสาปแช่งเจ้าเมืองให้มีอันเป็นไป ในทันใดนั้นดินฟ้าอากาศก็เกิดวิปริตเกิดน้ำท่วมบ้านเมืองอย่างฉับพลัน ราษฎรจมน้ำตายเจ้าเมืองก็ตายตามไปด้วย คงเหลือแต่คนมีบุญมีศีลธรรม คนใจบาปหยาบช้าถูกน้ำพลัดจมน้ำตายหมด บ้านเมืองก็ว่างเปล่าไม่มีผู้นำมาเป็นเวลานานปี ต่อมาพระฤๅษีรำพึงแล้วก็คิดว่าเราจะปล่อยประละเลยไม่แก้ไขเห็นทีชาวเมืองลำพูนทั้งมวลจะระส่ำระส่าย จึงได้เชิญฤๅษีผู้น้องทั้งสาม อาทิเช่น  พระฤๅษีสุกกทันต ผู้อยู่นครละโว้ และเชิญฤๅษีจากทิศต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ ตน โดยท่านสุเทพ  ฤๅษีเป็นประธาน ช่วยกันสร้างนครขึ้นใหม่เริ่มแต่เวลา ๙.๐๐ นาฬิกาของวันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล  พุทธศักราช ๑๑๙๘ มวลประชาราษฎร์ที่หนีอุทกภัยก็ให้มาร่วมกันสร้างเมืองใหม่ จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อ        ปีพุทธศักราช ๑๒๐๓ พระฤๅษีก็ให้นามเมืองใหม่นี้ว่า “นครหริภุญชัย” ในบรรดาพระฤๅษีก็ปรึกษากันว่าจะหาใครผู้ใดมาเป็นเจ้าเมืองเพื่อปกครองประชาราษฏร์ให้อยู่ดีมีสุขต่อไป ในที่สุดท่านฤๅษีสุเทพก็นึกถึงบุตรีบุญธรรม     “อาหญิงวี” ของพ่อ ซึ่งท่านได้ทราบแล้วว่าได้ทรงเป็นราชินีแห่งละโว้ จึงได้ปรึกษากับท่านฤๅษีผู้น้องทั้งสามที่จะเอาพระนางจามเทวีมาครองเมืองลำพูน ทุกคนต่างเห็นดีเห็นชอบกันทั้งนั้น ครั้นในวันต่อมาท่านฤๅษีสุเทพจึงมอบสาส์นให้นายคะวะยะ คือ นายควายนำไปให้พระเจ้าอยู่หัวนครละโว้ ๑ ฉบับ และทูลพระราชินีเป็นส่วนพระองค์ ๑ ฉบับ เมื่อละโว้ได้รับข่าวสารจากพระฤๅษี ได้พิจารณากันอยู่เป็นเวลานานพอควรครั้นจะปฏิเสธอย่างไรก็ไม่ได้ มีแต่คิดๆๆ เนื่องจากเมืองลำพูดเดือดร้อนแสนสาหัส ราษฎรขาดผู้นำพระนางก็มานึกถึงพระคุณของพระฤๅษีผู้เป็นบิดาเลี้ยงมาก่อน ทางหมู่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั้งปวงแห่งนครละโว้ได้รับทราบเรื่องราวก็พากันมาฟังข้อตกลงกันล้นหลามอยู่ภายนอกพระราชวัง ต่างก็มีความอาลัยรักพระนางอย่างยิ่งที่จะต้องอำลาจากกรุงละโว้ไปครองเมืองหริภุญชัยตามคำขอของพระฤๅษี ในที่สุดทางกรุงละโว้ก็ตกลงให้พระนางจามเทวีขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ก่อนจะออกเดินทางพระนางจามเทีได้เอานักปราชญ์บัณฑิตและพระสงฆ์เป็นจำนวนอย่างละ ๕๐๐  มีวัตถุที่สำคัญที่นำมาครั้งนั้นก็คือ พระแก้วขาว ๑ องค์ เวลานี้ประจำอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับพระรอดหลวงก็มีประจำอยู่ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ฝีมือทำได้สวยงามมาก พระนางจามเทวีเดินทางจากกรุงละโว้ถึงเมือง        หริภุญชัยเป็นเวลานาน ๗ เดือน เวลานั้นพระนางมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เมื่อมาถึงวันเดือนปีพุทธศักราช ๑๒๐๖    พระนางจามเทวีก็ขึ้นครองราชย์ปกครองชาวเมืองหริภุญชัย ขณะที่ขึ้นครองราชย์ได้ ๗ วัน พระนางจามเทวีก็ประสูติพระโอรส ๒ องค์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นฝาแฝด จึงให้นามว่า “มหันตยศ และ อนันตยศ” ต่อมาพระนางจามเทวีได้ส่งพระราชโอรสองค์เล็กคือ อนันตยศ ไปสร้างเมืองนครลำปาง ส่วนพระมหันตยศ ผู้เป็นพี่ให้สืบราชสมบัติที่เมืองลำพูน พระนางจามเทวีมีช้างผู้ก่ำงาเขียวคู่บารมี เวลานี้อัฐิของช้างคู่บารมีของพระนามจามเทวีบรรจุไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้โรงเรียนจักรคำคณาทรฯ พระนางจามเทวีครองราชสมบัติอยู่ ๕๒ ปี จึงสวรรคต รวมพระชนมายุได้ ๙๒ ปี อัฐิของพระนามจามเทวีบรรจุไว้ที่วัดกู่กุด ซึ่งเป็นวัดคู่บารมีของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๑๓ เมืองหริภุญชัยมีพระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์องค์แรกปกครอง สืบๆ กันมามาจนถึง ๔๙ พระองค์ มีพระยายีบาเป็นองค์สุดท้าย รวมอายุเมือง ๖๑๘ ปี พระยายีบาก็ได้เสียงเมืองให้แก่พระยาเม็งรายเมื่อ       จุลศักราช ๖๔๓ (พุทธศักราช ๑๘๒๔) ปีมะโรง เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ สาเหตุที่ต้องเสียเมืองหริภุญชัยครั้งนี้เนื่องจากพระยายีบาไปหลงเชื่อขุนฟ้าเพราะความประจบสอพลอ จึงทำให้ชาวเมืองลำพูนต้องเดือนร้อนพากันจงเกลียดพระองค์อย่างมาก จึงเป็นเหตุให้พระยาเม็งรายเข้ายึดเมืองหริภุญชัยได้อย่างง่ายดาย เมื่อพระยายีบาหนีออกเมืองไปถึงดอยกลางป่าก็คิดนึกได้ที่เสียรู้ขุนฟ้าเป็นไส้ศึกให้พระยาเม็งรายก็เสียใจหลั่งน้ำตาร้องไห้ สถานที่น้ำตาตกนี้จึงมีชื่อว่า  “ดอยพระยายีบาร้องไห้” มาจนทุกวันนี้

 

·       หลวงมิลังคะหลงเสน่ห์งามจามเทวี
            ขอย้อนกล่าวถึงแม่หม้ายงามจามเทวีกับหลวงมิลังคะ ที่ทำให้หลวงมิลังคะหลงเสน่ห์งามจามเทวีจนไม่รู้จะกินจะนอน แม้จะหลับจะนอนจะตื่นขึ้นก็ยังฝันถึงเสมอ จึงได้แต่งทูตมาสู่ขอพระนางจามเทวีแต่พระนางจามเทวีไม่สนพระทัยจึงไม่ให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นเหตุให้หลวงมิลังคะเกิดโทสะยกไพร่พลมาประชิดเมือง เวลานั้นพระนางคิดว่าขืนสู้รบกับหลวงมิลังคะบ้านเมืองคงพังแน่ จึงต้องออกอุบายกับหลวงมิลังคะว่า ถ้าหลวงมิลังคะพุ่งเสน้า (ธนู) จากดอยสุเทพ เชียงใหม่ มาตกกลางเมืองลำพูนก็จะยอมแต่งงานตามสัญญาคำมั่น ทันใดนั้นหลวง    มิลังคะก็ดีอกดีใจมีความหวังจะได้แต่งงานกับพระนางจามเทวี ๑๐๐% จะได้พระนางจามเทวีมาเป็นคู่ครอง จึงถือธนูขึ้นไปสู่บนดอยสุเทพ แล้วก็นึกถึงคาถาอาคมเสร็จเรียบร้อยก็ได้พุ่งเสน้าจากบนดอยสุเทพมาตกที่นอกเมืองทิศตะวันตกห่างจากกำแพงเมืองไม่กี่วา สถานที่เสน้าตกปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า “หนองเสน้า” เมื่อพระนางเห็นฤทธิ์เดชจึงหวั่นกลัวยิ่งนัก ถ้าหากให้มีการพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ ๒-๓ คงจะต้องมาตกกลางเมืองแน่ พระนางจามเทวีจึงออกกลอุบายแก้มนต์คาถาของหลวงมิลังคะ โดยเอาผ้าถุงชั้นใน (ซิ่นใน) เย็บเป็นหมวกจัดส่งไปให้หลวงมิลังคะสวมใส่ เมื่อหลวงมิลังคะได้รับของฝากก็ดีใจเป็นที่สุดแล้วก็สวมใส่พร้อมกับพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ ๒-๓ เสน้าที่พุ่งกลับตกห่างจากตัวเมืองหลายเท่า หลวงมิลังคะเสียรู้หมดกำลังใจที่จะพุ่งเสน้าอีกต่อไป ความหวังที่จะได้พระนางมาครองก็หมดสิ้นไป ส่วนหลวงมิลังคะก็หาความงามมิได้เลย ต่อมาทั้งสองตระกูลได้สืบพันธุ์กันทางสายลูกฯ