หน้าร้านดีดี บอร์ด

คนรักเมืองนนทบุรี,ปทุมธานี => รวมข้อมูลจังหวัดนนทบุรี => ข้อความที่เริ่มโดย: ka1 ที่ พฤศจิกายน 16, 2011, 10:10:18 PM



หัวข้อ: ประวัติศาลากลาง (เก่า)จังหวัดนนทบุรี
เริ่มหัวข้อโดย: ka1 ที่ พฤศจิกายน 16, 2011, 10:10:18 PM
ประวัติศาลากลาง (เก่า) จังหวัดนนทบุรี

(http://forum.narandd.com/imageupload/image/lure5p-bc5e7b.jpg)

จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
 ที่ตั้งเมืองนนทบุรี ครั้งแรกนั้นมีชื่อว่า “บ้านตลาดขวัญ” ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองนนทบุรี

ในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เมื่อปีพุทธศักราช 2092
นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 450 ปี จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
จังหวัดนนทบุรีได้ย้ายศาลากลางจังหวัดถึง 3 ครั้ง
ศาลากลางจังหวัดเดิมอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
 ได้ย้ายมาตั้งที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาด้านใต้ ของปากคลองบางซื่อ
ซึ่งเป็นท่าเรือตลาดขวัญ และ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
ได้ย้ายศาลากลาง จังหวัดไปอยู่บนถนนประชาราษฎร์สาย 1 อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ในปัจจุบัน
ซึ่งเดิมเป็นอาคารของโรงเรียน ราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนประเภทอยู่ประจำ
ลักษณะอาคารจึงมีหลายหลังติดต่อกันเกือบจะเป็นวงกลม มีหอประชุมเป็นตึกสองชั้นสีขาวอยู่ท้ายสุด
สร้างมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2454 ใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

โรงเรียนราชวิทยาลัยเป็น
โรงเรียนที่ตั้งขึ้นแบบมีนักเรียนประจำ ลักษณะคล้ายคลึงกับโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาขึ้นและ
ในรัชกาลปัจจุบันก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนลักษณะเดียวกันนี้
 คือ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยที่จังหวัดนครปฐม
โรงเรียนราชวิทยาลัยเดิมตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ สาเหตุที่ย้ายมาอยู่จังหวัดนนทบุรี
เพราะกระทรวงยุติธรรม ในสมัยนั้นยังขาดผู้พิพากษาที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ
จึงได้สร้างโรงเรียนเตรียมให้เรียนภาษาอังกฤษ ไว้ก่อนแล้วจึงให้เรียนกฎหมาย
ซึ่งจะต้องศึกษาจากตำราภาษาฝรั่ง

เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าที่ดินที่บางขวาง
ซึ่งได้ซื้อไว้เพื่อสร้างคุกบางขวางเหมาะที่จะสร้างโรงเรียน จึงแบ่งที่ 1 ใน 3 สร้างเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัย
เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2454 จนถึง พ.ศ. 2469 จึงได้โอนไปรวมกับโรงเรียน วชิราวุธที่กรุงเทพฯ
เนื่องจากในระยะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ จึงต้องยุบโรงเรียนราชวิทยาลัยลง
แล้ว มอบอาคารเรียนให้เป็นที่ทำการ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2471
ลักษณะอาคาร มีขนาดกว้าง 11.55 เมตร ยาว 287.4 เมตร เนื้อที่ทั้งหมดของตัวอาคาร 2 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา
ตัวอาคารเป็นตึกพื้นไม้สัก ทาสีไข่ไก่ ประตูหน้าต่างทาสีเขียวใบไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้องลูกฟูก ประดับ
ด้วยงานไม้ลายวิจิตรที่ทำจากไม้สักทั้งหลัง มีรั้วเหล็กล้อมรอบตัวอาคาร 3 ด้าน
ด้านหน้าเป็นสถานที่พักผ่อน ชมบรรยากาศริมแม่น้ำ เจ้าพระยา
ส่วนด้านหลังติดกับโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี และหอประชุมจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากอาคารศาลากลาง
จังหวัดนนทบุรีหลังนี้ มีลักษณะการสร้างแบบพิเศษ ฝีมืองานไม้ประณีตมาก
กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งตามประกาศ ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2524

การปรับปรุงซ่อมแซม
ได้เคยมีในปี พ.ศ. 2511  และ ได้ทำการซ่อมแซมใหญ่ในปี พ.ศ. 2515
จากสภาพการ ใช้งานเป็นเวลานานกว่า 82 ปี ศาลากลางจังหวัดจึงอยู่ในสภาพทรุดโทรมและคับแคบ
จังหวัดจึงได้เสนอของบประมาณปี 2530 ไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
และได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างศาลากลางจังหวัดนนทบุรแห่งใหม่ขึ้นในวงเงิน 27,780,000 บาท
(ต่อมาภายหลังได้ขอสนับสนุนงบประมาณเพิ่มอีก 18.5 ล้านบาท) ในที่ดินราชพัสดุซึ่งใช้ในราชการของกรม
ไปรษณีย์โทรเลข ริมถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี เนื้อที่ประมาณ 72 ไร่
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นและเป็นมหามงคลยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลากลางจังหวัด นนทบุรีหลังใหม่
เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2532

การก่อสร้างศาลากลางจังหวัดแห่งใหม่นี้ใช้เวลาในการก่อสร้าง 4 ปีเศษ
จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 และทำพิธีเปิดในวันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2536
โดยพลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
ณ ศาลากลางจังหวัดหลังใหม่นี้ กระทรวงมหาดไทยได้จัดสร้างห้อง ทรงงานเพื่อทูลเกล้าฯ
ถวายแด่พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อเสด็จทรงงานตามพระราชอัธยาศัย
จึงนับเป็นศาลากลางจังหวัดแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีห้องทรงงานขององค์รัชทายาท
ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูง ณ ศาลากลางจังหวัด

--------------------------------------------------