หน้าร้านดีดี บอร์ด

พระเกจิอาจารย์ => ประวัติพระเจ้า10ชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: ka1 ที่ มกราคม 25, 2010, 06:38:44 PM



หัวข้อ: เวสสันดรชาดก (2/2)
เริ่มหัวข้อโดย: ka1 ที่ มกราคม 25, 2010, 06:38:44 PM
เวสสันดรชาดก (2/2)

                           พระเวสสันดรจนพระทัยจึงตรัสเรียกหา พระโอรสธิดา แต่พระชาลีกัณหาซึ่งแอบฟัง ความอยู่ใกล้ๆ ได้
ทราบว่า พระบิดาจะยกตน ให้แก่ชูชก ก็ทรงหวาดกลัว จึงพากันไปหลบ ซ่อน โดยเดินถอยหลังลงสู่สระบัว เอาใบบัว บังเศียรไว้
ชูชกเห็นสองกุมารหายไป จึงทูล ประชดประชันพระเวสสันดรว่า ไม่เต็ม พระทัย บริจาคจริง ทรงให้สัญญาณสอง กุมารหนีไปซ่อน
ตัวเสียที่อื่น พระเวสสันดร จึงทรงต้องออกมาตามหาพระชาลีกัณหา ครั้นทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าเดินขึ้นมา จากสระ
จึงตรัสเรียกพระโอรสธิดาว่า "ชาลีกัณหา เจ้าจงขึ้นมาหาพ่อเถิด หากเจ้า นิ่งเฉยอยู่ พราหมณ์เฒ่าก็จะเยาะเย้ยว่าพ่อนี้
ไร้วาจาสัตย์ พ่อตั้งใจจะบำเพ็ญทานบารมี เพื่อสละละกิเลสให้บรรลุพระโพธิญาณ จะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ในภาย
ภาคหน้า ให้พ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่าย ตายเกิด เจ้าจงมาช่วยพ่อประกอบการบุญ เพื่อบรรลุ ผล คือ พระโพธิญาณนั้นเถิด"
ทั้งสองกุมารทรงได้ยินพระบิดาตรัสเรียก ก็ทรงรำลึกได้ถึงหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่ถึง เชื่อฟังบิดามารดา รำลึกได้ถึงความ
พากเพียรของพระบิดาที่จะประกอบ บารมีเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส ทั้งยังรำลึกถึง ขัตติยมานะว่าทรงเป็น โอรสธิดากษัตริย์
ไม่สมควรจะหวาดกลัว ต่อสิ่งใด จึงเสด็จขึ้นมาจากสระบัว พระบิดาก็จูงทั้งสองพระองค์มาทรงบริจาค เป็นทานแก่ชูชก
ชูชกครั้นได้ตัวพระชาลีกัณหาเป็นสิทธิ ขาดแล้ว ก็แสดงอำนาจฉุดลากเอาสอง กุมารเข้าป่าไป เพื่อจะให้ เกิดความยำเกรง ตน
พระเวสสันดรทรงสงสารพระโอรสธิดา แต่ก็ไม่อาจทำประการใดได้ เพราะทรง ถือว่า ได้บริจาคเป็นสิทธิแก่ชูชกไปแล้ว
ครั้นพระนางมัทรีทรงกลับมาจากป่า ในเวลาพลบค่ำ เที่ยวตามหาโอรสธิดา ไม่พบ ก็มาเฝ้าทูลถามจาก พระเวสสันดร
พระเวสสันดรจะทรงตอบความจริงก็เกรงว่า นางจะทนความเศร้าโศกมิได้ จึงทรงแกล้ง ตำหนิว่า นางไปป่าหาผลไม้ กลับมาจน
เย็นค่ำ คงจะรื่นรมย์มากจนลืมนึกถึง โอรสธิดาและสวามีที่คอยอยู่ พระนางมัทรี ได้ทรงฟัง ก็เสียพระทัย ทูลตอบว่า
"เมื่อหม่อมฉันจะกลับอาศรม มีสัตว์ ร้ายวนเวียนดักทางอยู่ หม่อมฉันจะมา ก็มามิได้จนเย็นค่ำ สัตว์ร้ายเหล่านั้น จึงจากไป
หม่อมฉันมีแต่ความสัตย์ซื่อ มิได้เคยจึกถึงความสุขสบายส่วนตัวเลย แม้แต่น้อยนิด บัดนี้ลูกของหม่อมฉันหายไป
จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็มิทราบ หม่อมฉัน จะเที่ยวติดตามหาจนกว่าจะ พบลูก" พระนางมัทรีทรงออกเที่ยวตามหาพระชาลี
กัณหาตามรอบบริเวณศาลา เท่าไรๆ ก็มิได้ พบจนในที่สุด พระนางก็สิ้นแรง ถึงกับสลบไป พระเวสสันดรทรงเวทนา จึงทรงนำน้ำเย็นมา
ประพรมจนนางฟื้นขึ้น ก็ ตรัสเล่าว่าได้บริจาค โอรสธิดาแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว ขอให้ พระนางอนุโมทนาในทานบารมีที่ทรงกระทำ
ไปนั้นด้วยบุตรทานที่พระราชสวามีทรงบำเพ็ญ และมีพระทัยค่อยบรรเทาจากความโศกเศร้า ฝ่ายท้าวสักกะเทวราชทรงเล็งเห็นว่า
หากมี ผู้มาทูลขอพระนางมัทรีไป พระเวสสันดร ก็จะทรงลำบาก ไม่อาจบำเพ็ญเพียรได้เต็ม ความปรารถนา เพราะต้องทรงแสวงหาอาหาร
ประทังชีวิต ท้าวสักกะจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์ มาขอรับบริจาคพระนางมัทรี พระเวสสันดร ก็ทรงปิติยินดีที่จะได้ประกอบทารทานคือการ
บริจาคภรรยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น พระนาง มัทรีก็ทรงเต็มพระทัยที่จะได้ทรงมีส่วน ในการ บำเพ็ญทานบารมีตามที่พระเวสสันดร
ทรงตั้งพระทัยไว้ เมื่อได้รับบริจาคแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงกลับ คืนร่างดังเดิม และตรัสสรรเสริญอนุโมทนา ในกุศลแห่งทาน
บารมีของพระเวสสันดร แล้วถวายพระนางมัทรีกลับคืนแด่พระเวสสันดร พระเวสสันดรจึงได้ทรงประกอบบุตรทารทาน
อันยากที่ผู้ใดจะกระทำได้ สมดังที่ได้ตั้งพระทัย ว่าจะบริจาคทรัพย์ของพระองค์ เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น โดยปราศจากความหวงแหนเสียดาย
ฝ่ายชูชกพาสองกุมารเดินทางมาในป่า ระหกระเหินได้รับความลำบากเป็นอันมาก และหลงทางไปจนถึง เมืองสีวี บังเอิญผ่าน
ไปหน้าที่ประทัยพระเจ้าสญชัย ทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า
พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหา ให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว บรรดาเสนาอำมาตย์และประชาชนทั้งหลาย
ต่างก็พากันสงสารพระกุมารทั้งสอง และ ตำหนิพระเวสสันดรที่มิได้ทรงห่วงใย พระโอรสธิดา พระชาลีเห็นผู้อื่นพากัน
ตำหนิติเตียนพระบิดา จึงทรงกล่าวว่า "เมื่อพระบิดาเสด็จไปผนวชอยู่ในป่า มิได้ทรงมีสมบัติใดติดพระองค์ไป
แต่ทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะ สละกิเลส ไม่หลงใหลหวงแหนในสมบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้บุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมสละได้เพื่อประโยชน์
แก่ผู้อื่น เพราะทรงมีพระทัยมั่นในพระโพธิญาณ ในภายหน้า ความรัก ความหลง ความโลภ ความโกรธ
เป็นกิเลสที่ขวางกั้นหนทางไปสู่ พระโพธิญาณ พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลส ได้ดังนี้จะมาตำหนิติเตียน พระองค์หาควรไม่"

          พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังดังนั้นก็ยินดี จึงตรัสเรียกพระชาลีให้เข้าไปหา แต่พระชาลี ยังคงประทับอยู่กับ ชูชก และทูลว่า พระองค์
ยังเป็นทาสของชูชกอยู่ พระเจ้าสญชัยจึงขอไถ่ สองกุมารจากชูชก พระชาลี ตรัสว่า พระบิดา ตีค่าพระองค์ไว้พันตำลึงทอง
แต่พระกัณหานั้น เป็นหญิง พระบิดาจึงตีค่าตัวไว้สูง เพื่อมิให้ ผู้ใดมาไถ่ตัวหรือซื้อขายไปได้ง่ายๆ พระกัณหา
นั้นมีค่าตัวเท่ากับทรัพย์เจ็ดชีวิตเจ็ดสิ่ง เช่น ข้าทาส หญิงชาย เป็นต้น สิ่งละเจ็ดร้อย กับทองคำอีกร้อยตำลึง พระเจ้าสญชัยก็โปรด
ให้เบิกสมบัติท้องพระคลัง มาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัด ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก เพื่อตอบแทนที่พา
พระนัดดากลับมาถึงเมือง ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภค อาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่
ความตายในที่สุด พระเจ้าสญชัยโปรด ให้จัดการศพแล้วประกาศหาผู้รับมรดกก็หา มีผู้ใดมาขอรับไม่ หลังจากนั้น พระเจ้าสญชัย
จึงตรัส สั่งให้จัดกระบวนเสด็จเพื่อไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนสู่ เมืองสีวี เพราะบรรดาประชาชนก็พากันได้คิดว่า
พระเวสสันดรได้ทรงประกอบทานบารมี อันยิ่งใหญ่ กว่าทั้งหลายทั้งปวง ก็เพื่อประโยชน์ แห่งผู้คนทั้งหลาย หาใช่เพื่อพระองค์เองไม่
เมื่อกรบวนไปถึงอาศรมริมสระโบกขรณี กษัตริย์ทั้งหกก็ทรงได้พบกันด้วยความโสมนัส ยินดี พระเจ้าสญชัยจึงตรัสบอกพระเวสสันดร
ว่าประชาชนชาวสีวีได้เห็นสิ่งที่ถูกที่ควรแล้ว และพากันร่ำร้องได้ ทูล เชิญเสด็จกลับเมืองสีวี พระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระชาลี
กัณหาจึงได้เสด็จกลับเมือง พระเจ้าสญชัย ทรงอภิเษก พระ เวสสันดรขึ้นครองเมืองสืบ ต่อไป ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีวี
พระเวสสันดรก็ทรงยึดมั่นในการประกอบ ทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาคเป็นประจำ ทุกวัน ชาวเมืองสีวีตลอดจนบ้านเมืองใกล้เคียง
ก็ได้รับพระ เมตตากรุณา มีความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเมืองต่างก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันมิได้โลภ กระหายในทรัพย์สมบัติ ต่างก็มีจิตใจผ่องใสเป็น
สุข เหมือนดังที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระปณิธาน ว่า พระองค์จะทรงบริจาคทรัพย์สมบัติทั้งปวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยทรัพย์ทั้งหลาย
ทำให้เกิดกิเลส คือความโลภ ความหลงหวงแหน เมื่อบริจาคทรัพย์แล้ว ผู้รับก็จะได้ประโยชน์ จากสิ่งนั้น และมีความชื่นชม ยินดี ผู้ให้ก็จะ
อิ่มเอมใจว่าได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดความ ปิติยินดีเช่นกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมได้รับ ความสุขความพึงพอใจดังนี้

 
(จบ)
**************************************************************