
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
ที่อยู่: ถ.หน้าพระลาน
แขวงพระบรมมหาราชวัง
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์:(662) 222-8181: 3801 3890
222-2208 623-5500: 3100
ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกทางทิศตะวันออกของพระบรมหาราชวัง ภายในไม่มีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระบรมหาราชวังและกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นการสร้างวัดในพระราชวังตามอย่างวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุทธยา
เป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ภายในมีอาณาบริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือส่วนแรกเป็นวัดพระแก้วมรกต ระเบียงที่ลดหลั่นกันลงไป และส่วนของหมู่ตึกทางทิศเหนือ จุดที่เรากำลังอยู่นี้เป็นระเบียงด้านหน้าของประสาทพระเทพบิดร
วัดพระศรีรัตนศาสดารามตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง ภายในไม่มีพระภิกษุสงฆ์ยู่จำพรรษาร ัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระบรมมหาราชวังและกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นการสร้างวัดในพระราชวังตามอย่างวัดพระศรีสรรเพชญ์องกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต): เป็นพระประทับนั่งอย่างสมาธิราบในสกุลช่าง
ล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์
นครวัดจำลอง: รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้พระสามภพพ่ายสร้างขึ้น โดยจำลองแบบจากปราสาทหินนครวัดของกัมพูชา เมื่อถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยปูน เพื่อฉลองพระนครครบรอบ 100 ปี
ปราสาทพระเทพบิดร: เดิมเรียก “พุทธปรางค์ปราสาทเป็นปราสาทยอดปรางจัตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1-8 เปิดให้ประชาชนเข้าถวายบังคมพระบรมรูปในวันจักรี ( 6 เม.ย. ) ของทุกปี
พระมณฑป: ตั้งอยู่ทางด้านหลังปราสาทพระเทพบิดรสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฏกทรงมณฑปประดับมุกฝีมือประณีตงดงาม
พระระเบียง: เปรียบเสมือนกำแพงวัด ผนังด้านในเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติตั้งแต่ต้นจนจบ โดยที่เสาระเบียงจะมีโคลงอธิบายภาพจารึกบนแผ่นศิลาติดอยู่
พระศรีรัตนเจดีย์: สร้างขึ้นตามแบบเจดีย์ดพระศรีสรรเพชญ์สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของพระมณฑป ภายในมีเจดีย์องค์เล็กประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
พระอัษฏามหาเจดีย์: บริเวณด้านหน้าพระอาราม สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ภายนอกระเบียง 6 องค์ภายในระเบียง 2 องค์มีชื่อประจำทุกองค์
ยักษ์ทวารบาล: ตั้งเรียงรายที่ช่องประตูพระระเบียงมีคู่เป็นยักษ์ตัวเอกจากเรื่องรามเกียรติ์ แต่ละตนต่างมีชื่อประจำตัว สร้างด้วยปูนปั้นทาสีและประดับกระเบื้องเคลือบ
หอพระคันธารราษฏร์: ที่มุมระเบียงด้านตะวันออกเป็นประดิษฐานพระพุทธคันธารราษฏร์ ซึ่งเป็นพระประธานในพิธีพิรุณศาสตร์ละพระราชพิธีพืชมงคล ภายในหอมีภาพเขียนเกี่ยวกับฝนในแต่ละฤดูและฝนโบกขรณีฝีมือขรัวอินโข่ง
หอพระราชกรมานุสร: เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ34 องค์ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างเป็นพระราชอุทิศถวายแด่พระมหากษัตริย์ในกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี
หอพระราชพงศานุสร: สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฝาผนังมีภาพจิตรกรรมพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฝีมือขรัวอินโข่ง
นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีเครื่องประดับพระอาราม เช่น กระถางเขามอ กระถางต้นไม้น้ำ แท่นหิน ไม้ดัดไทย อับเฉา วางประดับเรียงรายอยู่โดยรอบ
หอพระนาก: อยู่ด้านหลังวิหารยอด เป็นอาคารทรงไทยหลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิพระบรมวงศ์
นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีเครื่องประดับพระอาราม เช่น กระถางเขามอ กระถางต้นไม้น้ำ แท่นหิน ไม้ดัดไทย อับเฉา วางประดับเรียงรายอยู่โดยรอบ
รายละเอียดเพิ่มเติม
รถประจำทาง: 1 3 6 9 15 19 25 30 32 33 39 43
44 47 53 59 60 64 65 70 80 82 91 123 ,20,1203
รถปรับอากาศ: 1 8 25 38 39 44 506 507 512
ท่าเรือ:
เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าช้าง
เวลาทำการ:
ทุกวัน 08.30-15.30 น.
ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม:
ชาวต่างชาติ 200 บาท
กิจกรรม-เทศกาล :
วันอาทิตย์ เทศนาธรรม 13.00 น.
วันพระ: เทศนาธรรม 09.00 น. และ13.00 น.
มัคคุเทศน์
10.00 น. และ 14.00 น.
เครื่องบรรยายภาษาต่างประเทศ:
จีนกลาง ญี่ปุ่น ไทย ฝรั่งเศส สเปน
เยอรมัน รัสเซีย อังกฤษ
ค่าธรรมเนียม: 100 บาท/2 ชั่วโมง
หนังสือเดินทาง/บัตรเครดิต
โทรศัพท์: (662) 222-2208
ร้านกาแฟ: ศาลาอรรถวิจารณ์
ร้านอาหาร: ศาลาอรรถวิจารณ์
ข้อห้าม:
ถ่ายรูปในพระอุโบสถ
ผู้ชาย: ใส่กางเกงขาสั้น
รองเท้าแตะ
ผู้หญิง: ใส่เสื้อกล้าม ใส่เสื้อ
ไม่มีแขน
กางเกงสามส่วน รองเท้าแตะ
ที่จอดรถ:
ท่าราชวรดิษฐ์วัดมหาธาตุฯ
สนามหลวง
สถานที่ใกล้เคียง: กรมศิลปากร ตึกถาวรวัตถุ, พระบรมมหาราชวัง, พิพิธภัณฑ์พระนคร,
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ, พิพิธภัณฑ์ ศิลป์พีระศรี, ม.ธรรมศาสตร์, ม.ศิลปากร
วัดพระเชตุพนฯ, วัดราชวรประดิษฐฯ,วัดมหาธาตุฯ, วัดอรุณฯ,
ศาลหลักเมือง, สนามหลวง,สวนสราญรมย์, หอกลอง,หอนาฬิกา