พระที่นั่งอนันตสมาคม
ที่อยู่:ถนนราชวิถี เขตดุสิต
กรุงเทพฯ 10300
โทร. 02-628-6300 ต่อ 5119-5121
พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๕ แล้วเสร็จเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นที่รับรองแขกเมืองและประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน เป็นสถาปัตยกรรมศิลปะสมัยฟื้นฟู ( Renaissance ) ออกแบบโดยนายเอ็ม. ตมานโย ( M. Tamango ) สถาปนิกชาวอิตาลี
บนเพดานโดมเขียนภาพพระราชกรณียกิจสำคัญของรัชกาลที่ ๑-๖ แห่งราชวงศ์จักรี บริเวณห้องโถงใต้้โดมกลางเป็นที่สำหรับใช้ประกอบพระราชพิธีต่างๆ มีพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงห์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตรตั้งอยู่พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยที่สะท้อนถึงความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมืองการปกครองมาโดยตลอด นับตั้งแต่วันที่รัชกาลที่ ๗ ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยและมีการเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งแรกของรัฐสภาที่นี่
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
เป็นโครงการในพระราชดำริที่โปรดเกล้าฯ ให้ทำเป็นตัวอย่างเพื่อพสกนิกรโดยไม่หวังผลกำไร ทรงโปรดเกล้าฯ ใช้พื้นที่ในเขตพระราชฐานทำการทดลอง เช่น ปลูกข้าว โรงสีข้าว เลี้ยงโคนม ฯลฯ
โรงเรียนจิตรลดา ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐาน แรกเริ่มเป็นสถานศึกษาสำหรับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ จากนั้นจึงเปิดรับบุตรหลานของข้าราชบริพารที่รับราชการในพระตำหนักฯ ปัจจุบันเปิดรับสมัครบุคคลภายนอกด้วย โดยเปิดสอนตั้งแต่อนุบาล ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ศาลาดุสิตาลัย ใช้เป็นศาลาอเนกประสงค์และสถานที่สำหรับเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ศูนย์ศิลปาชีพ เปิดสอนศิลปาชีพแขนงต่างๆ สืบทอดและพัฒนาศิลปะหัตถกรรม รวมทั้งเป็นศูนย์รวบรวมผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากราษฏรทั่วประเทศ เช่น ถมเงิน ถมทอง เครื่องเงิน เครื่องทอง จักสานย่านลิเภา ทอผ้าไหม ฯลฯ
รายละเอียดเพิ่มเติม
รถประจำทาง : 70 72
รถปรับอากาศ : 3
เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.30 น. - 16.00 น.
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม :
ค่าบัตรเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท
เด็ก นักเรียน นักศึกษา ภิกษุ สามเณร แม่ชี 10 บาท
ชาวต่างชาติ 50 บาท
ที่จอดรถ : บริเวณด้านหน้าพระที่นั่ง
สถานที่ใกล้เคียง :
พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5, พระที่นั่งวิมานเมฆ, พระที่นั่งอัมพรสถาน,
พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ, พิพิธภัณฑ์ฯ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ,
รัฐสภา, วังปารุสกวันวักเบญจมบพิตรฯ, วัดโสมนัสวิหาร, สวนสัตว์ดุสิต,
สวนอัมพร, หมุดคณะราษฎร