
พระสุวรรณเขต (องค์หลัง)-พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า)
สององค์พระประธานต่างความงามต่างสมัยในพระอุโบสถ

สมเด็จพระสังฆราชรูปบัจจุบัน

รวมอดีตเจ้าอาวาส-ปัจจุบัน

รูปมหาราช รัชกาลที่9 ทรงผนวก

รวมปัญจะหมาราช ทรงผนวก

พระอุโบสถ

พระนอน

รูปหล่อรัชกาลที่4

ประตูเซี่ยวกาง” ที่มีปากสีดำอันโดดเด่นของวัดบวรนิเวศวิหาร
“ประตูเซี่ยวกาง” ศิลปะทวารบาลที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาอย่างเด่นชัด
โดยประตูเซี่ยวกางแห่งนี้เป็นรูปเทวดาผี ใช้ไม้แกะเป็นรูปเทวดา
หนวดเครายาว ปิดทองเหลืองอร่าม ตนหนึ่งมือซ้ายถือสามง่าม มือขวาถือกริช
เหยียบบนหลังจระเข้ อีกตนหนึ่งมือขวาถือโล่ มือซ้ายถือดาบ เหยียบบนหลังมังกร
มีตำนานอยู่ในลัทธิมหายานว่า เป็นจอมแห่งเทวดาผู้พิทักษ์ประตูวัด
ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามคตินิยมแบบจีน
คำว่าเซี่ยวกาง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เซ่ากัง” ที่แปลว่า ยืนยาม นั่นเอง
ส่วนที่แปลกและสะดุดตาของคนที่เดินทางผ่านไป-มา ก็คือ
บริเวณปากของ “เซี่ยวกาง” นายทวารบาล จะมีสีดำ
ซึ่งแม่ค้าพวงมาลัยหน้าประตูวัดเล่าว่า สมัยก่อนยุคที่เมืองไทยยังดูดฝิ่น
ได้มีชาวจีนคนหนึ่งติดฝิ่นงอมแงม
พอต่อมาทางการได้ปราบทำลายโรงงานยาฝิ่นจนหมดสิ้น
เมื่อแกหาฝิ่นดูดไม่ได้ สุดท้ายเลยไปลงแดงตายตรงประตูนี้
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
ที่อยู่: 248 ถ.พระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์: (662) 281-2831-3
แฟกซ์: (662) 280-0343
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัดบวรฯ เป็นวัดโบรณ เดิมชื่อ “วัดใหม่” กรมพระราชวังบวรมหาศิกดิ์ดิพลเสพในรัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาขึ้นใหม่เมื่อรัชกาลที่ 4
ทรงผนวชได้เสด็จมาประทับและทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดเป็นครั้งแรก ถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลปัจจุบันทรงผนวช ณ วัดนี้
พระอุโบสถ : มีแบบแปลนแผนผังที่แปลกคือ เป็นอาคารแบบตรีมุขมีปีกยื่นออกมาสองข้าง หลังคามุงกระเบื้อง
เคลือบลูกฟูกแบบจีน หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบ ตรงกลางมีตรามหามงกุฏซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นลาย
ปูนปั้นปิดทองผนังภายในเขียนภาพฝรั่งแสดงปริศนาธรรมฝีมือขรัวอินโข่งภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ
เช่น พระสุวรรณเขต พระพุทธชินสิงห์ พระนิรันตราย พระพุทธนินนาท เป็นต้น
ประตูเชี่ยวกาง: เป็นซุ้มประตูใหญ่ของกำแพงวัดที่บายประตูสลักภาพทวารบาลอย่างจีน
พระตำหนักปั้นหยา : รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และเจ้าฟ้าที่ทรงผนวช.
พระตำหนักเพชร : เป็นตึกฝรั่งปนไทย ท้องพระโรงตกแต่งอย่างงดงม แต่เดิมเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกของไทย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย : รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ เปิดทำการสอน 4 คณะคือ ศาสนา
และปรัชญา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์.
รายละเอียดเพิ่มเติม
รถประจำทาง: 12 15 56 68
รถปรับอากาศ: 5 11 ทางด่วน 33 สาย 38 68
เวลาทำการ:
บริเวณวัด: ทุกวัน 8.00 น. - 17.00 น.
โบสถ์: วันธรรมดา
8.00 น.-8.40 น.
20.00-21.00น.
วันพระ: 8.00-12.00 น.,13.00-16.00น.
ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม: ไม่เสียค่าธรรมเนียม
กิจกรรม-เทศกาล: วันมาฆบูชา ,วันวิสาขบูชา
วันอาสาฬหบูชา,วันอัฐมีบูชา
ห้องสมุด: สนร.วัดบวรนิเวศ ชั้นใต้ดิน ตึกสว.
ธรรมนิเวศ: ทุกวัน 9.00-17.00 น.
หนังสืออนุสรณ์ฯ ชั้น1 ตึกภปร.
ปิด : วันอาทิตย์ 13.00-17.00 น.
พิพิธภัณฑ์: พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ชั้น2
และพิพิธภัณฑ์ของวัด ชั้น3 ตึกภปร.
เวลาเปิด: อาทิตย์ 13.00-17.00น.