Username:

Password:



  • หน้าแรก
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • ปฏิทิน
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • กลับหน้าร้านค้าออนไลน์
หน้าร้านดีดี บอร์ด พระเกจิอาจารย์ พระเกจิอาจารย์ หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต (ผู้ดูแล: ka1, okay) ชีวะประวัติ หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต1/4
หน้า: [1]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
ส่งหัวข้อนี้พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวะประวัติ หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต1/4  (อ่าน 5094 ครั้ง)
okay
Global Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249


ทีมงานหน้าร้านดีดี.com


ชีวะประวัติ หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต1/4
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2009, 12:05:30 PM »

ชีวะประวัติ หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต วัดพระขาว 1/4

       

ชีวะประวัติ หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต วัดพระขาว

ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ ซึ่งเป็นปีฉลู ชาวบ้านพระขาว และชาวประชาราษฎรในเขตอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกคนต่างก็เศร้าสลดอย่างสุดซึ้ง เมื่อได้ทราบข่าวคราวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับคืน มาของพระเกจิอาจารย์ ผู้ซึ่งมีวิชาอาคม และเวทมนตร์ที่เก่งกาจมาก ในสมัยนั้นสามารถใช้คาถาอาคม สะบัดผ้าไปทางไฟที่กำลังลุกไหม้ให้ดับได้อย่างใจนึก และยังมีวาจาสิทธิ์อีกด้วย ให้แม่ครัวใช้กระบุงใส่ถ้วย ชาม
จาน นำไปกระเหย่าน้ำล้างโดยไม่แตกร้าวแม้แต่น้อยนิดเลยทีเดียว ท่านผู้นั้นก็คือ "หลวงพ่อปั้น แห่งวัดพิกุล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา" ซึ่งชาวอยุธยาต่าง เสียดายเป็นอย่างยิ่งในการจากไปของท่าน ซึ้งเป็นพระ เกจิอาจารย์ชั้นยอดในยุคนั้น เมื่อมีเกิดก็ย่อมมีดับสูญ เป็นธรรมดาในโลกมนุษย์ปัจจุบัน มีสุขแล้วก็ต้องทีทุกข์ มีดีใจก็ต้องเสียใจ เป็นเรื่องธรรมดา ของสามัญชนใน ภพนี้ สุดที่จะหลีกเลี่ยงได้เลย เมื่อชาวพระขาว อ.บางบาล ต่างเสียอกเสียใจกันใหญ่หลวงแล้ว เทพเจ้าแห่งเบื้องบนท่านเกิดความสงสารมีเมตตาต่อ ชาวบ้านย่ายนี้ จึงประทานเด็กผู้ชายให้มากำเนิดในปีเดียวกันนี้ ณ ถิ่นฐาน ย่านเดียวกัน ตำบล อำเภอ และจังหวัดเดียวกันนี้ทุกประการ ดั่งคำพังเพยที่ว่า "กรุงศรีอยุธยาย่อมไม่สิ้นคนดี มีวิชา"

เด็กชายผู้นี้ บิดามารดาได้ตั้งชื่อ และแจ้งเกิดต่อกำนัน ต.พระขาว อ.บางบาล ให้ชื่อว่า "เด็กชายทิม ชุ่มโชคดี"
 เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ปีฉลู ที่บ้าน เลขที่ - หมู่ที่ ๓ ต.พระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นบุตรคนที่ ๕ ของคุณพ่อพร้อม คุณแม่กิ่ม ชุ่มโชคดี ตามลำดับดังนี้

คนแรก พี่ทอง ชุ่มโชคดี เป็นหญิง เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย
คนที่ ๒ พี่เทียบ ชุ่มโชคดี    
คนที่ ๓ พี่ทัศน์ ชุ่มโชคดี เป็นผู้ใหญ่เก่า หมู่ ๕ ต.พระขาว (เสียชีวติแล้ว)
คนที่ ๔ พี่ทอด ชุ่มโชคดี      
คนที่ ๕ หลวงปู่ทิม ชุ่มโชคดี        
คนที่ ๖ นายสังวาลย์ ชุ่มโชคดี

"เริ่มการศึกษา"
ครั้งแรกเมื่อยังเป็นเด็ก ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดพิกุล อ.บางบาล พ่อ-แม่ สมัยก่อนมักจะพาลูกหลานไปฝากให้พระตามวัดที่อยู่ใก้ลบ้านสอน อบรมบ่มนิสัยก่อน เพราะยังไม่มี ร.ร.อนุบาลเหมือนสมัยนี้ พออายุย่างเข้า ๑๐ ขวบ ก็มาเข้าเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาล อยู่วัดพิกุลที่นั้นค่าเล่าเรียนเก็บเป็นรายเดือนๆ ละ ๕๐ สตางค์ ในสมัยนั้น โดยเฉพาะเด็กวัดไม่คิดค้เล่าเรียน หลวงปู่เป็นเด็กวัด อยู่กับหลวงปู่น้อย สมัยนั้นใช้พระสอนเพราะยังไม่มี ร.ร. มีพระสังเวียนเป็นผู้สอน

ต่อมาเจริญขึ้นมี ร.ร.ประชาบาลเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มีครูจำเนียร ภู่ประเสริฐ เป็นครูใหญ่และครูน้อยเสร็จ หลวงปู่ได้อยู่กับ หลวงปู่น้อย ซึ่งเป็นพระปลัดของหลวงพ่อปั้น หลวงปู่ท่านเกิด ไม่ทันหลวงพ่อปั้นซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เก่งกาจมาก ในสมัยนั้นแต่ก็เกิดปีเดียวกับหลวงพ่ปั้นท่านมรณภาพพอดี เสมือนกับว่าเทพเจ้าท่านได้ ให้มาเป็นตัวแทนกับหลวงพ่อปั้นก็ว่าได้ใครจะรู้หลวงปู่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน อยู่วัดพิกุลมาจนอายุ ๑๓ ปี ก็จบ ป.๔ ออกจาก ร.ร.วัดพิกุลก็มาช่วย บิดา-มารดา ทำนาอยู่กับบ้าน เพราะหลวงปู่ทิม พื้นเพของหลวงปู่ ท่านเป็นชาวนา

รับใช้ชาติครั้งที่ 1
เข้าอายุเกณฑ์ทหาร หลวงปู่ท่านถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารทันที โดยไม่ต้อง คัดเลือกเลย เพราะหลวงปู่ท่านเป็นคนใหญ่โต จัด อยู่ ใน ประ เภท ดี ๑ ประเภท ๑ ไม่ ต้อง จับ เลือก ใบดำ -ใบ แดง เหมือน สมัย ปัจจุบัน ใน ปี พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงปู่ประจำอยู่ ร.พัน ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตำบลสวนเจ้าเชต (หน้าวัง- สราญรมย์) เป็นทหารประจำการอยู่ ๑ ปี กับ ๓ เดือน ก็ปลดจากทหารเกณฑ์

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
ประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๘ เมื่อกลับมาอยู่บ้านก็มาบวชตามประเพณีของลูกผู้ชายไทย เพื่อทด แทนพระคุณ และค่าน้ำนมของ พ่อ-แม่ อุปสมบทณ วัดพิกุล อ.บางบาล จ.อยุธยา มีหลวงพ่อปุ้ย วัดขวิด อ.บางบาล เป็นอุปัชฏฃฌาย์อาจาร์ย และหลวงลุงหลิ่มวัดโพธิ์กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระอธิการหลิ่ว เจ้าอาวาสวัดพิกุล เป็นพระอนุสาวนาจารย์อุปสมบท อยู่ในบวรพระพุทธศาสนา ๑ พรรษา
ก็ลาสิกขาในระหว่างอุปสมบท ๓ เดือน นั้น หลวงปู่ได้ทำกิจของสงฆ์โดยท่องหนังสือ และสวดมนต์ไหว้พระ ไม่มีีใครเสมอเหมือนได้เลย เพราะทั้งเจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน หลวงปู่สามารถท่องจำได้ทั้งหมดทั้งสองอย่าง จนพระอาจารย์หลิ่ว เจ้าอาวาสวัดพิกุล อ.บางบาล ท่านไม่อยากให้หลวงปู่สึก ท่านเสียดายมาก เมื่อหลวงปู่ไปขอลาสิกขา จากท่าน คงจะเป็นเพราะบุญและบารมีของหลวงปู่ขั้นต้นมีเพียงเท่านี้ก่อน เพื่อเป็นพื้นฐาน

สาเหตุที่หลวงปู่ต้องลาสิกขาในครั้งนี้
ก็เพราะมีความสงสารมารดาเป็นอย่างมากที่ต้องลำบากตรากตรำทำนา เนื่องจากบิดาท่านมาเสียชีวิตตั้งแต่หลวงปู่ท่านยังตัวเล็กๆ จึงตัดสินใจลาสิกขา เพื่อมาช่วยมารดาทำนาเป็นการตอบแทนพระคุณที่ได้อุ้มเลี้ยงหลวงปู่มาตั้งแต่เล็กจนเติบโตใหญ่ พระคุณท่านใหญ่หลวงนักถึงจะเปรียบเอาโลกมาทำปากกา เอานภามาแทนกระดาษ เอาน้ำทั้งหมดมหาสมุทรมา แทนน้ำหมึก ประกาศพระคุณแม่ไม่พอ

รับใช้ชาติครั้งที่ 2
เมื่อย่างเข้าวัยเบญจเพศ ทางมารดาท่านก็มาอ้อนวอนให้มีครัวเรือน ตามประเพณีของผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยโบราณ เพื่อที่จะได้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น พูดตามภาษาชาวบ้านก็คือ จะได้เป็นผู้ใหญ่เสียที พูดตามภาษาชาวบ้านก็คือ จะได้เป็นผู้ใหญ่เสียทีหลวงปู่ใช้ชีวิตในการครองเรือนตามประเพณีอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ก็มีเหตุการณ์จำเป็นเกิดขึ้น คือ ในปีพ.ศ.๒๔๘๔ เป็นปีที่หลวงปู่มีความภาคภูมิใจมากในชีวิต ที่ได้เกิดขึ้นมาเป็นลูกผู้ชายไทย เพราะได้มีโอกาสรับใช้ชาติบ้านเมือง เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณให้กับพื้นแผ่นดินที่ตนได้อาศัยเพื่อที่ใช้ฝังร่างกายในบั้นปลายของชีวิต เมื่อหมดลมหายใจ จะได้ไม่เป็นหนี้ในผืนแผ่นดินที่ตนกำเนิด เมื่อทางรัฐบาลไทยต้องการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส มีเมืองปอยเปรส-ศรีโสภณ-เสียมราษฎร์ และพระตะบอง ซึ้งเป็นดินแดนที่ประวัติศาสตร์ไทยจารึกไว้มาจนทุกวันนี้ หลวงปู่ท่านถูกระดมไปผ่านศึกยังประเทศเขมรในครั้งนี้ด้วย เป็นเหตุการณ์ที่หลวงปู่ระลึกถึงทุกคืนวัน คืนหลวงปู่ท่าน ได้ปะทะข้าศึกอย่างชนิดที่เรียกว่า ประจัญบานต่อหน้าเลยทีเดียว ด้วยบุญญาธิการ และวาสนาที่มีมาแต่ กำเนิด หลวงปู่ก็รอดปลอดภัยมาได้ด้วยคุณพระพุทธ - พระธรรม - พระสงฆ์ และคุณของ บิดา - มารดา ที่หลวงปู่ท่านได้ระลึกและนึกถึงอยู่ประจำใจ ในขณะที่กองทัพทั้งสองฝ่ายกำลังต่อสู้กับข้าศึกชนิดประจัญบานอยู่นั้น หลวงปู่ท่านมีจิตใจเป้นวิหารธรรมมั่นอยู่เสมอ คือ มีความตั้งใจว่า "ข้าพเจ้าที่ยิงไปนี้ไม่ได้ต้องการเอาชีวิตท่าน ข้าพเจ้าที่ยิงไปนี้ก็เพื่อป้องกันประเทศ ชาติ-ศาสนา-องค์พระมหากษัตริย์ เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญ ขอพวกท่านจงหลีกไปเสีย" ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหลวงปู่ท่าน กำหนดดวงจิตเป็นเมตตาธรรมแผ่เมตตาธรรมต่อศัตรูที่กำลังจ้องจะปลิดชีวิตของตนแม้แต่ชีวิตของตนก็ยังไม่ห่วง แสดงให้เห็นถึงชีวิตจิต
ใจของหลวงปุ่ท่าน ซึ่งมีจิตเป็นกรรมฐานตั้งแต่ครั้งเมื่อยังเป็นฆราวาสเลยจริงๆ ผลสุดท้ายข้าศึกก็พ่ายแพ้แตกทัพกลับไป ทำให้ไทยเราได้ชัยชนะในการรบทำสงครามแย่งดินแดนต่างๆ ที่ตกเป็นของกัมพูชากลับคืนมาตามเดิม ใช้ระยะเวลาออกศึกสงครามประมาณ ๖ เดือนเศษ

ศึกสงครามก็สงบลง
หลวงปู่ท่านได้รับบัตรเหรียญชัยสมรภูมิเป็นเครื่องเทิดทูนประจำตัวนับว่าหลวงปู่ ท่านได้รับเกียรติยศอันสูงส่งยิ่ง ซึ่งเป็น
เกียรติยศที่ภาคภูมิใจที่สุดของหลวงปู่ ที่ได้มีโอกาส มารับใช้ประเทศชาติบ้านเมืองในยามที่ประเทศชาติ ต้องการ ซึ่งเป็นคำพูดที่ออกจากใจจริงของหลวงปู่ท่านช่างผิดกับชายในสมัยนี้ชอบหลบหนีหาโอกาสหลีก เลี่ยงทหารกันมากต่อมาก

รับใช้ชาติครั้งที่ 3
เมื่อสิ้นศึกสงครามเรียกร้องดินแดนคืนได้แล้วหลวงปู่ ท่านก็กลับมาพักผ่อนยังบ้านเกิดเมืองนอนพระนครศรีอยุธยา ได้ประมาณ ๗ เดือนเศษๆ ในระหว่างนั้นศึกสงครามยังไม่สงบดี หลวงปู่ก็ต้องถูกเรียกระดมกลับเข้าไปประจำการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นศึกสงครามครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยเรา คือ "สงครามโลกครั้งที่ ๒ " เราทราบกันดีจาก ปู่-ย่า-ตาและยาย ที่ได้เล่าสู่ให้ฟังกันบ่อยๆ ครั้งกระนั้นประเทศไทยเราถูกเข้าร่วมรบกับประเทศญี่ปุ่นและเยอรมัน เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่มีอะไรตื่นเต้นมากนัก ด้วยเหตุที่ว่าหลวงปู่ท่านประจำการอยู่รักษาความสงบภายใน เพื่อคุมเชิงรบให้กับฝ่ายสัมพันธมัตร จนกระทั่งสงครามสงบลง ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ท่านก็ได้รับอิสรภาพเรื่อยมา จนทุกวันนี้ กลับจากศึกสงครามมาทำนา อยู่ยังบ้านพระขาว อ.บางบาล กับครอบครัวตามเดิมใช้ชีวิตครองเรือนอยู่กินกับบุตรและภรรยาชั่วระยะเวลา ไม่กี่ปีก็เกิดเบื่อหน่ายในทางโลก โบราณท่านว่าเมื่อบุญญาธการและวาสนามีมาถึงก็จะทำให้บังเกิดความ เบื่อหน่ายในชีวิตของการเป็นฆราวาสแล้วก็จะช่วยดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆนานาขึ้น คือชาวบ้าน ในตำบลพระขาว และใก้ลเคียงเกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง โรคนั้นก็คือ "โรคห่ากินคน" หรืออหวาตกโรค นั้นเอง ชาวบ้านแถวย่านนั้นได้ล้มเจ็บกันและก็ตายด้วยโรคห่ากันเป็นจำนวนมาก หลวงปู่ท่านก็ประสบ กับเขาเหมือนกันแต่บุญวาสนาให้ฟังดังต่อไปนี้วันหนึ่งในเวลาเช้า หลสงปู่เตรียมตัวจะไปไถนายังกลางทุ่ง ก็เกิดปวดท้องขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียก่อน แล้วก็ไปถ่ายเพียงครั้งเดียวแท่ๆ ก็หมดแรงเดินแทบไม่ไหว ต้องกลับขึ้นมานอนบนเรือนอาศัยเยียวยาแบบชาวบ้านในสมัยนั้น คือ รักษาพยาบาลด้วยตนเองไม่มีมดมีหมดเหมือนกับสมัยนี้ แล้วให้ภรรยาขุดเอาข่าที่ปลูกไว้ข้างบ้านมาโขลกกินกับเหล้าขาวจน หมดแก้วท้องก็หยุดเดินทันที ถึงกระนั้นก็ยังมีลมปั่นป่วน อยู่ในท้องโครกคราก หลวงปู่ก็เริ่มมีสติระลึกนึกขึ้นมาได้ว่า โรคนี้มันร้ายแรงมากนัก โดยยกมือขึ้นมาดู ว่านิ้วและฝ่ามือเป็นล่องหรือเปล่า ถ้าชักล่องก้ต้องตายแน่ แล้วก็เอากระจกมาส่องดูอีกว่าใบหน้าตาของตนเองลึกและโหลอย่างเขาว่ากันก็ต้องตายแน่ๆ จึงตั้งจิตแล้วอธิษฐานในใจต่อ "คุณพระพุทธ คุณพระธรรม และคุณพระสงฆ์" ว่าอย่าเพิ่งหมดอายุเลย ตัวของข้าพเจ้า นี้ยังปฏิบัติมาในบวรพระพุทธศาสนา นี้น้อยนักให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสช่วยต่อพระพุทธศาสนา อีกสักหน่อยเถิด ค่อยตายจะไม่ว่ากระไรเลย (เพราะหลวงปู่ได้ถืออุโบสถอยู่เป็นประจำตลอดมาตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส)

ด้วยแรงอธิษฐาน
ของหลวงปู่ในครั้งกระนั้นโรคนี้ก็ได้บรรเทาและก็หายอย่างปาฏิหารย์เลยทีเดียว เมื่อหายจากโรคห่านี้ แล้ว หลวงปู่ก็ได้รัษาพระอุโบสถตามสัญญาเรื่อยมาไม่เคยขาดเป็นเวลา ๕ ปี ก็บังเกิดมี จิตใจศรัทธาใน บวรพระพุทธศาสนาขึ้นอย่างจับจิตจับใจอย่างมากและบุญญาและบารมี ช่วยดลใจบันดาลให้มองเห็นอะไรเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตของการเป็นฆราวาส ตั้นแต่บัดนั้นเรื่อยมา หลวงปู่ท่านจะเล่าให้เราฟังต่อดังนี้ วันหนึ่งเป็นวันถืออุโบสถ ข้าพเจ้าได้มารักษาอุโบสถที่วัดพิกุล ในตอนบ่ายมีพระธรรมเทศนาขึ้นที่ วัดบนศาลาการเปรียญ ข้าพเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาจบแล้วก็เลยเข้าไปคุยกับพระในกุฎิ บังเอิญพระท่าน ได้วางหนังสือนวโกวาท เอาไว้ที่เตียงนอนของท่านข้าพเจ้าก็หยิบมาอ่านดูในเรื่องสิกขา ๓ คือ เรื่อง ศีล-สมาธ และปัญญา ซึ่งแปลความว่า ความสำรวม กาย-วาจา ให้เรียบร้อย ชื่อว่าศีล ความรักษาใจมั่น ชื่อว่าสมาธิ ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่าปัญญา เท่านั้นเองข้าพเจ้าก็บังเกิดความเลื่อมใสแล้วก็ตั้งใจปฏิญาณในใจว่า "เมื่อเกิดมาเป็นลูกผู้ชายต้องบวช ให้ได้อีกสักครั้งหนึ่ง" ข้าพเจ้ามานึกถึงเมื่อบวช ครั้งแรกไม่ได้เรียน-ไม่ได้รู้อะไรเลย แม้แต่หนังสืออย่างนี้ ็ไม่มีอ่านและก็ไม่มีครู - อาจารย์สั่งสอนด้วย ข้าพเจ้า มีความตั้งใจมั่นและแน่วแน่จะต้องบวชให้ได้อีกครั้งตั้งแต่บัดนั้นมาหมายเหตุ บางคนอาจจะเข้าใจว่าการบวชครั้งที่ ๒ นี้ เรียกว่าเป็นชาย ๒ โบสถ์ คำว่า ชาย ๒ โบสถ์ หมายถึง คนที่บวชสองหน หนละศาสนา เช่น บวชครั้งแรกบวชอยู่ในบวรพุทศาสนาแล้วสึกออกไปบวชอยู่อีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พุทธศาสนา เช่นนี้ เรียกว่า ชาย ๒ โบสถ์ โบราณว่าเป็นคนไม่ดี



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2009, 01:44:22 PM โดย okay » บันทึกการเข้า

+++จงเป็นผู้ให้ก่อน  ที่จะเป็นผู้รับ+++
หน้า: [1]   ขึ้นบน
ส่งหัวข้อนี้พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.10 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
Nt-Sun Theme by N a t i
กำลังโหลด...