การพัฒนาของเนื้อเยื่อพืช
ชิ้นส่วนพืชที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อและเลี้ยงบนอาหารวุ้นจะมีการพัฒนาเป็นหน่อเล็กๆภายใน1-2 เดือนแรก
เมื่อทำการตัดย้ายเปลี่ยนอาหารเนื้อเยื่อเหล่านั้น
จะเจริญเติบโต และมีการพัฒนาจนสามารถเพิ่มปริมาณโดยเฉลี่ย 3-5 เท่า ภายใน 30 วัน หรือทุกครั้งของการเปลี่ยนย้ายอาหาร
เมื่อได้ปริมาณต้นตามต้องการ
จึงเปลี่ยนสูตรอาหารวุ้น เพื่อชักนำการเกิดราก จนกระทั่งได้ต้นพืชที่สมบูรณ์มีทั้งส่วนลำต้น ใบ และระบบราก สามารถย้ายออกปลูก
ในสภาพธรรมชาติได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้
เนื้อเยื่อพืชมีการ เจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ต้องตัดย้ายเนื้อเยื่อวางเลี้ยงบนอาหารใหม่ทุก 3 หรือ 4 สัปดาห์
สรุประยะการพัฒนาของชิ้นส่วนพืช แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะเริ่มต้น ถ้าการฟอกฆ่าเชื้อประสบผลสำเร็จชิ้นส่วนพืชที่ไม่ปนเปื้อนจะเริ่มเจริญเติบโตและพัฒนาเกิดยอดใหม่
ทำการย้ายชิ้นพืชนั้นลงอาหารใหม่
2. ระยะเพิ่มปริมาณ เมื่อชิ้นส่วนพืชพัฒนาเป็นยอดแล้วต้องเปลี่ยนสูตรอาหารที่มีส่วนผสมของสารควบคุมการเจริญเติบโต
ในกลุ่มของไซโตไคนิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเพิ่มปริมาณยอด เช่น BA หรือไคเนติน การเพิ่มปริมาณชิ้นเนื้อเยื่อให้ได้
ตามต้องการเป็นเรื่องไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก เนื่องจากความสำเร็จไม่ได้
อยู่เพียงว่าใส่ชิ้นพืชลงในอาหารสูตรที่เหมาะสมแล้วชิ้นพืชจะสามารถพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆและเพิ่มปริมาณตามต้องการได้การขยายเพื่อให้ได้จำนวนยอดที่มากพอ
และมีประสิทธิภาพอาจทำได้หลายวิธีคือ
2.1 ชักนำให้เกิดแคลลัส (callus induction) แล้วจึงชักนำให้เกิดยอดซึ่งจะได้ยอดหรือต้น (plantlets) จำนวนมากอย่างรวดเร็ว
แต่วิธีนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดความแปรปรวนทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง
2.2 โดยการสร้างตาพิเศษ (adventitious buds formation) ตาข้างที่อยู่ตามซอกใบที่พักตัวเนื่องจากอิทธิพลของตายอด
(apical bud dormancy) นิยมใช้มากกับงานขยายพันธุ์
2.3 กระตุ้นให้เกิดกิ่งข้าง (axillary branching formation) ตาข้างที่อยู่ตามซอกใบที่พักตัวเนื่องจากอิทธิพลของตายอด
(apical bud dormancy) นิยมใช้มากกับงานขยายพันธุ์
3. ระยะเกิดราก หลังจากที่ขยายเพิ่มปริมาณยอดเพียงพอต่อความต้องการแล้ว จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการพัฒนาชิ้นพืช
คือการชักนำให้เกิดรากโดยการเปลี่ยนสูตรอาหารวุ้นที่มีส่วนผสมของสารกลุ่มออกซินซึ่งมีอิทธิพลต่อการชักนำการเกิดรากของพืช
เช่น NAA หรือ IBA
เป็นต้น โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ชิ้นพืชจะพัฒนาจนเป็นต้นที่สมบูรณ์มีทั้งส่วนราก ลำต้น และใบ พร้อมที่จะนำออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้
หากแบ่งพืชตามระดับความยากง่ายในการเกิดรากได้ง่าย
เพียงแต่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตในระดับความยากง่ายในการเกิดรากสามารถแบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เกิดง่าย หมายถึง กลุ่มพืชที่สามารถชักนำให้เกิดรากได้ง่าย เพียงแต่ใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต
ในระดับความเข้มข้นของสาร
ตามปกติโดยไม่ต้องนำวิธีการอื่น ๆ เข้าช่วย พืชในกลุ่มนี้ ได้แก่ พืชตระกูลขิง (Zingiberaceae) ตระกูลบอนสี (Arecaceae)
โกสน หมากผู้หมากเมีย เฟิร์น เบญจมาศ เยอบีรา หน้าวัว กล้วย สับปะรด และคะน้ายอด เป็นต้น

สับปะรด
กลุ่มที่ 2 เกิดปานกลาง หมายถึง กลุ่มพืชที่สามารถชักนำให้เกิดรากได้ปานกลาง แต่ต้องใช้วิธีการอื่นร่วมด้วย เช่น
การกรีดโคนต้นแล้วแช่
ในสารออกซินก่อนนำไปเพาะเลี้ยง จะช่วยทำให้อัตรา การเกิดรากเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 50% ในกลุ่มพืชพวก ไผ่ตง หน่อไม่ฝรั่ง
กันเกรา สะเดา หวาย มังคุด และขนุน

หน่อไม้ฝรั่ง
กลุ่มที่ 3 เกิดน้อย หมายถึง กลุ่มพืชที่สามารถชักนำให้เกิดรากได้น้อย ถึงแม้จะใช้วิธีการอื่นเข้ามาช่วยหลายวิธีพร้อมๆ กัน
ก็ไม่สามารถชักนำให้เกิดราก
ได้ถึง 50% พืชในกลุ่มนี้ ได้แก่มะขามป้อม เหมียง และผักหวานป่า เป็นต้น
********************
สรุปขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
1. คัดเลือกต้นพืชที่มีคุณลักษณะ
2. ฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
3. เพิ่มปริมาณยอด
4. ชักนำราก
5. ล้างปลูก
6. อนุบาลในโรงเรือน
7. นำเข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตร
************************************************