ชีวประวัติ หลวงปู่นอง ธัมมะโชโต 1/3
วัดวังศรีทอง จ.สระแก้ว วัดแห่งนี้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนาและที่พักของพระเกจิ “ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ” รูปหนึ่ง ซึ่งได้รับความเคารพนับถือและศัทธาจากญาติโยมกันมากชื่อของ ท่านคือ หลวงปู่นอง ธมฺมโชโต อายุ92ปี ต้นตำรับแห่ง “ของดี” และ
“ของขลัง” ที่โด่งดังด้านโชคลาภเป็นที่หนึ่ง และเรื่องของเมตตามหานิยม ทำมาค้าขึ้น ญาติโยมทั่วสารทิศต่างดั้นด้นมากราบไหว้บูชาแต่ละวันเนืองแน่น
หลวงปู่นอง ธมฺมโชโต ประวัติเดิมเป็นชาว จ.ลพบุรี โดยกำเนิด บิดาชื่อ ช่วง ปัจจะชัย มารดาชื่อ กลาย ปัจจะชัย มีพี่น้อง ร่วมอุทรเดียวกันรวม 8 คนท่านเป็นคนสุดท้อง โดยมารดามีศักดิ์เป็นน้องสาวของพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม)
วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกจิชื่อดังแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนพระอริยสงฆ์ผู้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจนได้รับขนานนามว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” ต้นตำรับแห่งของขลัง “มีดหมองาช้าง” และวัตถุมงคลอื่นๆ ชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เสาะหา
ของนักสะสม และผู้ศรัทธาจวบจนปัจจุบันนี้
ในสมัยวัยเด็ก หลวงปู่นอง หนีออกจากบ้านมาขอบวชเณรอยู่กับ หลวงลุงคือ หลวงพ่อเดิม ตั้งแต่อายุเพียง 12 ขวบ เพื่อศึกษาวิชาอาคมด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี รวมทั้งการฝึกหัดทำมีดหมอให้มีพุทธนุภาพสูงสุด ล้วนได้รับการ ถ่ายทอดมา จนสิ้นและหลวงลุงยังเมตตาสักยันต์ “นะเมตตา” ติดตัวให้ด้วย ต่อมาหลวงปู่นอง เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ “หลวงพ่อกบ” หรือ “หลวงพ่อเขาสาลิกา” แห่งสำนักปฏิบัติธรรมวัดเขาสาลิกา อ.บ้านมี่ จ.ลพบุรี พระเถระที่ ประวัติความเป็นมาไม่เหมือนใคร และเคยสำแดงปฏิหาริย์ให้ผู้คนฮือฮามาหลายครั้ง เช่น ช่วงเข้าเดินบิณฑบาตโยมในกรุงเทพฯ กลับไปฉันเช้าที่วัดได้เพียงพลิบตา มีญาณหยั่งรู้อดีต อนาคต ทำนายได้แม่นยำเหลือเชื่อ โดยเฉพาะวิชา “กสิณไฟ” หลวงพ่อกบ ถ่ายทอดให้หลวงปู่นองศึกษาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเชี่ยวชาญ นับว่า หลวงปู่นอง เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับพระมหาชวน (หลวงพ่อโอภาสี)
แห่งอาศรมบางมด ฝั่งธนบุรี อดีตเกจิผู้บูชาไฟชื่อดัง ซึ่งเคยมาเรียนวิชาที่ วัดเขาสาลิกา เช่นกัน จวบจนเติบใหญ่หลวงปู่นองสึกจากสามเณรรับใช้ชาติเป็นทหารสังกัด กองพันเสนารักษ์กองทัพอากาศ 2 ปี ครบกำหนดปลดประจำการก็ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี แห่งพระมหาชวน(หลวงพ่อโอภาสี) อาศรมบางมดฝั่งธนบุรี
ในฐานศิษย์รู่นพี่เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ 4 ปี ก็ลาสิกขามาเป็น “พระเอกลิเก” ประจำคณะหอมหวล ที่ดังกระหึ่มในยุคก่อนกลายเป็นขวัญใจแม่ยกทั่วพื้นที่ สุดท้ายแต่งงาน หลังจากใช้ชีวิตทางโลก จนรู้แจ้งเห็นจริง หลวงปู่นอง เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่จีรังยั่งยืน จึงหันเข้าสู่ร่มสาวพัสตร์ อุปสมบท เป็นพระภิกษุอีกครั้งเมื่ออายุ 38 ปี รับใช้หลวงลุงจวบ จนหลวงพ่อเดิมมรณภาพใน
พ.ศ. 2482 ก็ย้ายมาจำพรรษาที่วัดเกรินกฐิน จ.ลพบุรี จึงย้ายมา จำพรรษาที่วัดได้วังศรีทอง ที่จังหวัดสระแก้ว ( ช่วงที่หลวงปู่ท่านย้ายมาอยู่นั้นจังหวัดสระแก้ว ยังไม่ได้เป็นจังหวัดแต่เป็นส่วนหนึ่ง ของจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งทุรกันดารมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นป่ารก) และหลวงปู่นองท่านก็มาจำพรรษาที่วัดได้วังศรีทอง จนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อสมัยที่หลวงปู่นองท่านศึกษาในสรรพวิชาต่างๆอยู่กับหลวงพ่อเดิม ตั้งแต่เป็น สามเณรจนกระทั่งบวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งหลวงพ่อเดิมท่านก็ให้เริ่มต้นศึกษา คัมภีร์มหาพุทธาคมอันเป็น
แม่บทของคัมภีร์มหาพุทธาคมอันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมังคัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีรมหาราช คัมภีร์นิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำราพิชัยสงคราม อาทิ คัมภีร์นิติประกาศิตคัมภีร์ธนูเวกว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนต์ ในสงคราม เป็นต้น และศึกษาในธรรมวินัยศึกษาศาสตร์พิธีต่างๆจากหลวงพ่อเดิมจนหมดสิ้น หลวงปู่นองท่าน จึงกราบลา หลวงลุงเพื่อออกเดินธุดงค์ และหวังกะจะเดินมาทางลพบุรีก่อนเพื่อเยี่ยมบ้านและมารดา
ซึ่งในระหว่างการเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่า ผ่านป่า ผ่านทุ่ง ผ่านภูเขา หลวงปู่นองท่าน ก็ได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะควบคู่ไปกับการบำเพ็ญเพียรทางจิตร่ำเรียนจบหลักศาสตร์วิชาจาก ครูบาอาจารย์ที่ได้พบกันในระหว่างเดินธุดงค์อีก จนเกิดความแตกฉานในวิชาอย่างเชี่ยวชาญ จึงออกแสวงหาประสบการณ์ที่สูงขึ้นไปอีก
เมื่อหลวงปู่นองท่านเดินธุดงค์มาถึงยังเขตลพบุรี เมื่อผ่านแถบบ้านหมี่
บ้านของโยมแม่เพื่อโปรดแก่แม่และญาติโยมแล้วหลวงปู่นองท่านก็มุ่งหน้าสู่วัดเขาสาลิกา เพื่อไปกราบ นมัสการหลวงพ่อกบ และ ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสที่ได้ศึกษาวิชา ในสายธาตุกสิณมหาสูตร คัมภีร์ตำรับฤาษีจากหลวงพ่อกบทั้งกสิณธาตุไฟคัมภีร์ และคัมภีร์ การเดินธาตุหยุดลมหยุดฝน คัมภีร์เปิดนิมิตตาที่สามและคัมภีร์โอมวิติตรี และวิชาจักษุนิมิตตา วิชาลงเลขเสกของนะโอมทนะฤาชา นะบัวบังใบ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นวิชาในสายฤาษีแทบทั้งสิ้น
เมื่อช่วงเวลาที่หลวงปู่นองท่านมีโอกาศท่านก็จะเดินทางมากราบนมัสการ หลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นทั้งศิษย์รุ่นพี่และพระอุปัชฌาย์ อยู่บ่อยๆและเมื่อได้มาถึงอาศรมบางมด ฝั่งธนบุรี หลวงปู่นองท่านจึงได้ศึกษาธรรมและปฏิบัติกรรมฐานอยู่กับหลวงพ่อโอภาสี และมีโอกาสที่ จะได้ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ไปด้วยและหลวงปู่นองท่านก็ได้สำเร็จทั้งกรรมฐานและศาสตร์วิชา ในมหาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตรจนสำเร็จ
เมื่อสมัยก่อนนั้นจะเห็นได้ว่าพระคณาจารย์สมัยโบราณนั้นท่านเรียกจบกัจจายน์สูตร ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อศุข หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และพระคณาจารย์นักปราชญ์อีกหลายๆองค์ เพราะเหตุว่าคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตรนี้เป็นมูลฐานของวิชา อาคมการลงอักขระเลขยันต์ การลงผงวิเศษทุกตำราล้วนมาจากคัมภีร์นี้ทั้งนั้นอีกทั้งยังเป็นพื้นฐานแห่ง การฝึกกระแสจิตให้มีอำนาจลึกลับแตกฉานในสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานยิ่งนัก เพราะในช่วงท้ายของคัมภีร์มีการเจรจากฎไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา พิจารณาสภาพพระนิพาน
ความเพียรและความมุ่งมั่นของหลวงปู่นองท่านนั้น ท่านก็ฝึกฝนและดำเนินรอยตาม แบบบูรพาจารย์ ศึกษาในคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตรจนครบถ้วน จากนั้นหลวงปู่องท่านจึงกลับมาอยู่รับ ใช้หลวงพ่อเดิมจนกระทั่งหลวงพ่อเดิมท่านมรณภาพ ซึ่งในช่วงนั้นหลวงปู่นองท่านจะอยู่รับใช้ หลวงพ่อเดิมตลอด จะได้รับการถ่ายทอดการสร้างชนวนพิเศษ “ชนวนรัตนโลหะ” ซึ่งมีอานุภาพ อาถรรพณ์ที่อยู่เหนือชนวนธาตุอื่นๆ เป็นชนวนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวอย่างมาก ตำรับวิชา “การผูก การลงเสก และผสมชนวนรัตนโลหะ”
หลวงปู่นองเป็นพระเกจิที่เชี่ยวชาญด้านไสยเวท คาถาอาคม โดยเฉพาะวิชา “กสิณไฟ” โดยวิชานี้สามารถขับไล่สิ่งชั่วร้าย ทั้งหลายทั้งปวง ล้างอาถรรพณ์ ใช้เสริมมงคลครอบ จักรวาล เสริมดวงให้ดีขึ้น ช่วยเกื้อหนุนโชคลาภวาสนาได้อย่างอัศจรรย์ซึ่งหลวงปู่นองท่านจะใช้