การจัดการด้านการตลาดจิ้งหรีด
จำหน่าย
วิธีจำหน่ายมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อว่าต้องการซื้อแบบไหน โดยปกติจะมีการจำหน่ายในลักษณะ ดังนี้
1. นับจำนวนตัวขาย จะขายร้อยละประมาณ 30-40 บาท
2. ชั่งน้ำหนักขาย จะขายกิโลกรัมละประมาณ 100-150 บาท
3. จำหน่ายเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ (1 ชุด = 10 บาท) ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 3 ตัว
การตลาด
การตลาดในการจำหน่ายจิ้งหรีด ทุกครั้งที่ได้สนทนาในการเลี้ยงจิ้งหรีด ผู้สนใจทั่วไปหรือผู้ที่ตั้งใจเลี้ยงจิ้งหรีด ในอนาคต
จะได้ยินคำถามจะว่าเป็นคำถามแรกก็ได้ว่า "ตลาดเป็นอย่างไร" เลี้ยงมาก ๆ แล้วจะขายที่ไหน ราคาเป็นอย่างไร อีกกี่ปีจะล้นตลาด
ผู้ถามคงคิดว่าเลี้ยงจิ้งหรีดแล้วรวย อาชีพอย่างอื่นที่เคยทำอยู่ทิ้งไปหมด แล้วผู้ได้ยินคำถามอย่างนี้จะตอบ และคิดอย่างไรต่อไป..........
ตลาดท้องถิ่น
1. ตลาดระหว่างผู้เลี้ยงและผู้บริโภคในพื้นที่ (บ้านใกล้เคียง) จะซื้อขายกันโดยตรง คือผู้ซื้อจะซื้อที่บ่อเลี้ยง
การซื้ออาจจะเป็นรายย่อย 1-2 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม หรือมากกว่า แล้วนำไปประกอบอาหารทันที การบริโภคเป็นไปได้
ทั้งภายในครอบครัวหรือเพื่อสังสรรค์กับเพื่อนบ้าน
2. ตลาดของฝาก บ่อยครั้งที่พบเห็นในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงจิ้งหรีด จะมีลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัดหรือ กรุงเทพมหานคร
เมื่อกลับมาเยี่ยมบ้านหรือกลับบ้านมักจะชอบซื้อจิ้งหรีดคั่วนำติดตัวกลับไปที่ทำงาน นำกลับไปกินเอง หรือซื้อเป็นของฝาก เป็นต้น
3. ตลาดรวมท้องถิ่น ในพื้นที่บางแห่งจะมีเกษตรกรที่เป็นแม่ค่าทำหน้าที่จัดซื้อรวบรวมจิ้งหรีดทุก ๆ เช้า
เพื่อทำการแปรรูปเองแล้วส่งให้แม่ค้าขายปลีกในเมือง หรือรวบรวมจิ้งหรีดเพื่อจัดส่งให้แม่ค้าขายปลีกในเมืองนำไปทำการแปรรูป
ตลาดกลาง
เป็นตลาดที่รับซื้ออยู่ในตัวเมืองหรือแหล่งชุมชนใหญ่ ๆ เมื่อทำการรวบรวมจิ้งหรีดแล้วส่งไปตามแหล่งใหญ่ ๆ เช่น
กรุงเทพมหานคร หรือส่งโรงงานเมลงอัดกระป๋อง เป็นต้น
ตลาดเชิงอุตสาหกรรม
จะมีการรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง หรือรับซื้อจากตลาดกลางก็ได้ เช่น สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร
สถานบันเทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดสกลนคร จะรับซื้อจิ้งหรีดที่สด (จิ้งหรีดมีชีวิต) สำหรับทำจิ้งหรีดอัดกระป๋อง เพื่อจำหน่ายต่างประเทศ
การทำจิ้งหรีดและแมลงต่าง ๆ อัดกระป๋อง
การนำแมลงทำเป็นผลิตภัณฑ์อัดกระป๋อง สามารถเก็บไว้บริโภคได้ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป ส่วนไข่มดแดงนั้น
สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี การทำจิ้งหรีดหรือแมลงต่าง ๆ อัดกระป๋อง นอกจากใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว สมควรที่จะได้พัฒนา
เป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกได้ ทั้งในรูปอาหารคนและอาหารสัตว์ ซึ่งจะเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ให้กับประชาชนและประเทศอีกทางหนึ่ง สำหรับขั้นตอนการทำแมลงกระป๋อง โดยปกติจะแยกแมลงตับเต่า แมงเหนี่ยง ซึ่งเป็นแมลงปีกแข็ง ซึ่งจะอยู่ด้วยกัน ดักแด้ไหมพวกหนึ่ง
ไข่มดแดงพวกหนึ่ง ส่วนจิ้งหรีดต่าง ๆ และตั๊กแตนต่าง ๆ จะอยู่ด้วยกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้ คือ
1. แมลง แยกกลุ่มแมลงตามที่ได้กล่าวข้างต้น
2. ล้างน้ำให้สะอาด
3. ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
4. นำไปชั่งน้ำหนัก
5. นำไปคั่ว ขณะคั่วโรยเกลือป่น ใช้เกลือสินเธาว์ในอัตราส่วนแมลง 1,000 กรัม ต่อเกลือ 1.5 ช้อนโต๊ะ โรยตะไคร้หั่น
ข่าซอย ใบมะกรูด คั่วต่อประมาณ 20 นาที ถ้าเป็นแมลงตับเต่า และแมลงเหนี่ยง ให้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
6. นำมาเกลี่ยผึ่งในถาด แล้วยกเข้าตู้อบลมร้อน ใช้อุณหภูมิประมาณ 60๐C ประมาณ 40 นาที
7. ยกออกมาคัดเอาแต่แมลงที่เป็นตัว ๆ ใส่กระป๋อง ชั่งน้ำหนัก (ถ้าเป็นแมลงอื่น ๆ น้ำหนัก 50 กรัม/กระป๋อง
ดักแด้ไหม 60 กรัม/กระป๋อง)
8. เข้าเครื่องปิดฝากระป๋อง
9. นำไปฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121๐C นานประมาณ 40 นาที
10. ทำให้เย็น
11. ปิดฉลากกระป๋อง พร้อมจำหน่าย
อุตสาหกรรมจิ้งหรีดกระป๋อง
การใช้ประโยชน์จากจิ้งหรีด
การใช้ประโยชน์จากจิ้งหรีด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายลักษณะ ดังนี้
1. จิ้งหรีดนำมาแปรรูปเป็นอาหารสำหรับบริโภค มีคุณค่าทางอาหารด้านโปรตีน และวิตามิน ดังนั้นจิ้งหรีดจึงเหมาะสำหรับ
นำมาแปรรูปเป็นอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายให้กับประชาชนในการรับประทาน ทั้งนี้ก่อนจับจิ้งหรีดมาบริโภคต้องงด
ให้อาหารเสริมแก่จิ้งหรีด อย่างน้อย 2-3 วัน ให้เฉพาะหญ้าสดและน้ำ เพื่อไม่ให้จิ้งหรีด มีกลิ่นของอาหารเสริม และควรจับจิ้งหรีด
เมื่อมีอายุได้ 46 วันขึ้นไป วัยนี้เป็นช่วงที่เหมาะสม เพราะจะได้น้ำหนักดี การแปรรูปจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหารรับประทาน นอกเหนือจาก
ได้กล่าวถึงแล้ว ยังมีอีกหลายวิธี เช่น การชุบแป้งทอดแทนกุ้งก็ได้ ทำลาบจิ้งหรีด ยำจิ้งหรีด เป็นต้น
2. การใช้จิ้งหรีดเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ โดยการใช้จิ้งหรีดทั้งวัยอ่อนและตัวเต็มวัย นำไปเป็นอาหารสัตว์
โดยตรงก็ได้เช่น อาหารไก่ นก ปลาสวยงาม ปลาบ่อ ลูกจระเข้ และสัตว์อื่น ๆ
3. การใช้จิ้งหรีดเพื่อการกีฬา ปัจจุบันมีความนิยมในการตกปลามาก การนำมาเป็นเหยื่อตกปลา หรือกีฬากัดจิ้งหรีด
4. การใช้จิ้งหรีดเพื่อความเพลิดเพลิน โดยการเลี้ยงศึกษาวงจรชีวิตและนิเวศน์วิทยาของจิ้งหรีด หรือ
การฟังเสียงร้องของจิ้งหรีด เป็นต้น
การแปรรูปอาหารจิ้งหรีด
****************************************