พระคาถาโสฬสมงคล-หลวงปู่เอี๋ยม วัดสะพานสูง " โสฬะสะมังคะลัญเจวะ นะวะโลกุตตะระธัมมะตา
จัตตาโรจะมหาทีปา
ปัญจะพุทธามหามุนี ตรีปิฏะกะธัมมักขันธา
ฉะกามาวะจะราตะถา
ปัญจะทัสสะกะเวสัจจัง ทะสะมังสีละเมวะจะ
เตรัสสะธุตังคาจะ
ปาฎิหารัญจะทะวาทัสสะ เอกะเมรุจะ สุราอัฎฐะ
ทะเวจันทังสุริยังสัคคา
สัตตะโพชฌังคาเจวะ จุททัสสะจักกะวัตติจะ
เอกาทะสะวิษณุราชา
สัพเพเทวา สะมาคะตา มังรักขันตุ ปาละยันตุ สัพพะทาเอเตนะ
มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ
กล่าวให้ปรากฏ อุปเท่ห์โสฬส บันดาลชายหญิง ภาวนาทีหนึ่ง สองทีดีจริง สิบแปดทีดียิ่งมีผลานิงค์ ชักลูกประคำ ร้อยแปดเลิศล้ำ
ให้ได้คาบทรงคงเกิดส่วนบุญ มีผลานิสงค์ พบแล้วอย่างง ไม่พบเร่งหา ผู้ใดไม่พบบุญน้อยถอดถด
เสียชาติเกิดมา เป็นคนขัดสน มืดมนต์หนักหนา พบแล้วท่านว่าภาวนาประจำ เหมือนชีวิตเกิดมา
เป็นคนขัดสน มืดมนต์หนักหนา พบแล้วท่านว่าภาวนาประจำ เหมือนได้ดวงแก้วแถม ทองผ่องแผ้ว
กุศลชักนำ สิ่งใดปรารถนาภาวนาหัวค่ำ กุศลเลิศล้ำ ประมูลพูนมา อุบาทว์จัญไร กันทั้งโรคภัย
ปรากฏคาถากลับจิตคิดเห็น ๆ อนัตตา มิอาจมาทำลายตัวเรา ภาวนาภัยหัวค่ำทีหนึ่งประจำ
เที่ยงคืนและย่ำรุ่งเป็นสามทีเกิดสวัสดี มีลาภทุกประการอาหารการกินปรีเปรมเกษมสันต์ ภาวนา ๓-๗
เป็นสำเร็จการ ทุกค่ำสำราญกว่าคนทั้งหลาย อายุวัณโณ บรมสุขโขภัญโญทั้งปลาย ถ้าไฟไหม้มาให้เสกข้าวสาร
สาดหว่านหลังคา ลมพาพัดหวลอย่าได้สงกา ฝนตกลงมาภาวนาป้องกัน ถ้าจะขายของเสกน้ำประพรม
สินค้าสารพันระบือลือสั่น พากันเข้ามาค้าเรือ เหนือใต้ เขียนคาถาไว้ แผ่นกระดาษปรารถนาเสกด้วยตัวเองปิดหัวนาวา
นำของสินค้าขายมีกำไร ถ้าเป็นความเสกน้ำล้างหน้าทาแป้งเสกเครื่องแต่งตน เสกหมากอย่านาน กินแล้วยาตรา
กระทืบเท้าสามทีแปลกายบ่ายสู่คู่ความตามที่เป่าพ่นอย่าหนี พลุ่งพล่านต้องเวทย์มนต์ถาคาพลัน
ให้ภาวนาเสกน้ำล้างหน้า กันทั้งคุณไสยอุบาทว์ จัญไร อัคคีโจรภัยตามความปรารถนา
พระคาถาบทนี้ เป็นของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งท่านได้ใช้บทนี้ ปลุกเสกสร้างพระปิดตา และ ตะกรดทำให้มีพุทธคุณมาก
จนเป็นที่ต้องการของผู้คนทั้งหลายตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ( อ่านว่า ปะถะมะนามะ หรือ ปถมนาม )
อดีตเจ้าอาวาสแห่งวัดสะพานสูง ท่านชาตะเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู
พ.ศ.2358 (ช่วงรัชกาลที่ 2 ) เป็นเถราจารย์ผู้เรืองเวทย์ร่วมสมัยกับสมเด็จฯโต
วัดระฆัง กรุงเทพฯ ,หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร, กรมพระยาปวเรศฯ
วัดบวรนิเวศฯ กรุงเทพฯ,หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จ.สมุทรปราการ
และเจ้าคุณเฒ่า (เอี่ยม) วัดหนัง กรุงเทพฯ เป็นต้น เมื่อท่านอายุได้ 22 ปี ได้อุปสมบทที่วัดบ่อ
ต.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ลุล่วงถึงปี พ.ศ. 2395 (ช่วงรัชกาลที่ 4 ) จึงได้ย้ายมาสู่
วัดสว่างอารมย์ (วัดสะพานสูง) ต.บ้านแหลมใหญ่ (ต.คลองพระอุดม) อ.ปากเกร็ด
จ.นนทบุรี ขณะนั้นมีพระ2 รูปเท่านั้น
ในระหว่างที่ย้ายมาสู่วัดสะพานสูง ท่านได้ออกธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมร
เพื่อเล่าเรียนวิชา และธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ว่ากันว่า ท่านธุดงค์หายไปนาน
10 ปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่และญาติโยมคิดว่าท่านได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว
จึงจัดแจงทำบุญบังสกุล และทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน ทำให้หลวงปู่เอี่ยม
ทราบด้วยญาณของท่าน ท่านจึงเดินทางกลับวัด ปรากฏว่าท่านไม่ได้ปลงผม
ผมจึงยาวถึงบั้นเอว จีวรขาดรุ่งริ่ง หนวดเครายาวเฟิ้ม พร้อมกับมีสัตว์ปา เช่น
หมี,เสือ,งูจงอาง ติดตามมาส่งท่านด้วย
จากการเจริญกรรมฐานนี้ มีเรื่องเล่ากันว่ามีต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีน้ำมันตกและดุมากเป็นที่เกรงกลัวแก่ชาวบ้านแถบนั้น
หลวงปู่จึงช่วยยืนเพ่งอยู่ 3 วันเท่านั้น ต้นตะเคียนก็เฉาและยืนต้นตาย หลวงปู่เป็นผู้มีอาคมฉมัง วาจาสิทธิ์ มักน้อยและสันโดษ
ท่านเป็นต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนี้ ท่านได้สร้างถาวรวัตถุที่ได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้คือพระอุโบสถ
พระวิหาร ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์ จึงเป็นที่มาของการสร้างพระปิดตา และตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลอันลือลั่นนั่นเอง
จวบจนเมื่อถึงวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2438 เวลา 10.00 น.(ช่วงรัชกาลที่ 5 )ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 ท่านได้มรณภาพ
ด้วยโรคชรา รวมสิริอายุได้ 80 ปี ก่อนที่ท่านจะมรณภาพได้มีศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นตัวแทนของชาวบ้าน และผู้เคารพนับถือ
ศรัทธา ที่มีและไม่มีของมงคลท่านไว้บูชา กราบเรียนถามหากว่าเมื่อหลวงปู่ได้มรณภาพแล้วจักทำประการใด ท่านจึงได้
มีปัจฉิมวาจาว่า " มีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา" จึงเป็นที่ทราบและรู้กันว่า หากผู้ใดต้องการมอบตัว
เป็นศิษย์หรือต้องการให้ท่านช่วยแล้วด้วยความศรัทธายิ่ง ก็ให้เอ่ยระลึกถึงชื่อของท่าน ท่านจะมาโปรดและคุ้มครอง
และหากเป็นเรื่องหนักหนาก็บนตัวบวชให้ท่าน รูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงปู่ท่านประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ
สร้าง(หล่อ) ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2480 ในสมัยหลวงปู่กลิ่น ผู้ปกครองวัดต่อจากท่าน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาจนทุกๆวัน
จะมีผู้ศรัทธาจากทุกสารทิศมากราบไหว้และบนบานฯ ตลอดเวลาตราบแสงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ท่านชอบกระทง
ใส่ดอกไม้เจ็ดสี จะมีผู้นำมาถวายและแก้บนแทบทุกวันโดยเฉพาะในวันพระแม้แต่ผงขี้ธูปและน้ำในคลองหน้าวัดก็ยัง
มีความ"ขลัง" อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
และหลังจากที่ท่านมรณภาพล่วงไปเนิ่นนานแล้วก็ตามที ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ผลปรากฏว่าฐานที่ท่าน
เคยถ่ายทุกข์เอาไว้และปิดตาย คราวที่เกิดไฟไหม้ป่าช้า ฐานของหลวงปู่เอี่ยมเพียงหลังเดียวเท่านั้นที่ไม่ไหม้ไฟ
เมื่อความอัศจรรย์ปรากฏขึ้นเช่นนั้น ผู้คนจึงค่อยมาตัดเอาแผ่นสังกะสีไปม้วนเป็นตะกรุดจนหมดสิ้น นอกจากนั้นแล้ว
ยังมารื้อเอาตัวไม้ไปบูชาจนไม่เหลือหรอ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่ได้อะไรเลยก็มาขุดเอาอุจจาระของท่านไปบูชา
ของขลัง ...ตะกรุดมหาโสฬสมงคล ท่านได้ใช้ความตั้งใจพากเพียรพยายามทยอยสร้างออกมาอยู่เรื่อยๆ
เพื่อแจกจ่าย ทำทุนปัจจัยมาสร้างโบสถ์ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และเจดีย์แก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ เงิน 1 ตำลึง
หรือ 4 บาท หรือจะนำทราย หรือ อิฐ หรือหิน จำนวน 1 ลำ หรือกำปั้น ก็จะได้ตะกรุด 1 ดอก
การปลุกเสก...เห็นจะไม่มีอิทธิของวัตถุสำนักใดๆ ที่มีการปลุกเสกของท่านตามลำพังเงียบๆ ภายในกุฏิทุกค่ำคืน
และแทบจะตลอดอายุขัยของท่านทีเดียว โดยต้องปลุกเสกด้วยโองการมหาทะมึนให้ครบ 10,000 จบ ในเวลา 3 ปี
การใช้เวลาอันเนิ่นนานปานนี้ จึงไม่มีปัญหาเลยว่า ตะกรุดของหลวงปู่ จะไม่เป็นยอดแห่งบรรดาตะกรุดทั้งหลาย
เป็นตะกรุดที่ทรงคุณค่าควรเมือง หรือค่าพันตำลึงทองทรงอิทธิพลังพุทธาคุ้มเกรงภยันตรายทั้งปวง
ผู้ใดมีไว้ครอบครองหมั่นบูชา กราบไหว้ด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่นจะเป็นสิริมงคลแก่ตัวและวงศ์ตระกูล
และพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ชีวิตจักไม่ตกต่ำเป็นมหามงคลยิ่งใหญ่มีเมตตามหานิยม เจริญลาภผล จังงัง กำบังภัย
แคล้วคลาด คลกระพันชาตรี บำบัดและป้องกันเจ็บไข้ เสนียดจัญไรโจรภัยกันไฟพ้นจากศัตรูหมู่สัตว์ร้าย อย่าว่า
แต่ปืนผาหน้าไม้เลย แม้แต่อหิงสา หรือฟ้าผ่าก็ยังกันได้ แจ้งเหตุการณ์ให้ทราบก่อนล่วงหน้า ดลใจในทางที่ถูกที่ควร
ถ้าอยู่ในบ้านเรือนบูชา ก็จะมีแต่สิริมงคล แต่ที่สำคัญจะทำให้ผู้มีไว้ครอบครองได้สัมฤทธิ์ผล แห่งเดชนุภาพทั้งปวง
แต่ต้องปฏิบัติตน ให้อยู่ในศีลในธรรม ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยมจึงเด่นขึ้นสู่ความนิยม และมีค่านิยมสูงยิ่ง เป็นอันดับหนึ่ง
ของบรรดาเครื่องรางและตะกรุดมาเนิ่นนานกว่าใคร เป็นวัตถุมงคลที่มีสนนราคาสูงยิ่ง และหายากยิ่งจนมีผู้สืบเสาะ
อยากจะเป็นเจ้าของกันทั่วไป
------------------------------------