สมุนไพรไก่ชน กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า
การใช้ประโยชน์
กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง
อาหารที่ทำจากกล้วย
ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ใบอ่อนของกล้วยอังไฟพอนิ่ม ใช้พอกแกเคล้ดขัดยอก
ก้านใบตองตำให้แหลกช่วยลดอาการบวมของฝี
หัวปลี ใช้บำรุงน้ำนม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ผลกล้วยมีสารเซอโรโทนินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลดิบมีสารกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารให้หลั่งสารออกมาเคลือบกระเพาะ
สารเซโรโทนิน
Serotoninเป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ ( gastrointestinal tract of animals ) และประมาณ 80-90% ของปริมาณserotoninรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วน serotonin ในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้าง serotonin ได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ
Serotoninยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้วย
หน้าที่การทำงาน
Serotonin เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ตั้งแต่ในสัตว์ที่เพิ่งเริ่มมีการพัฒนาระบบประสาทอย่างหนอนตัวกลม (roundworm) Caenorhabditis elegans serotoninจะกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกินอาหารของมัน ทั้งนี้serotonin ยังทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ประสาทที่ไวต่อมัน (serotonin-sensitive neurons) ซึ่งควบคุมการรับรู้ปริมาณสารอาหารในร่างกายของสัตว์ ถ้าหนอนตัวกลมนี้ถูกเอาสารserotoninออกจากร่างกาย มันจะมีพฤติกรรมคล้ายกับการมีชีวิตในระยะที่ขาดแคลนอาหาร โดยมันจะเคลื่อนที่มากขึ้นและไม่ค่อยผสมพันธุ์และออกไข่ ซึ่งหากให้สารserotoninเข้าไป หนอนจะมีพฤติกรรมในทางตรงกันข้าม
ในสัตว์ที่มีระบบประสาทเจริญกว่าหนอนตัวกลม serotoninจะถูกใช้ในการรับรู้สัญญาณที่ซับซ้อนขึ้น ในมนุษย์สารserotoninมีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ (Mood (psychology)|mood) ความโกรธ (anger) และความก้าวร้าว (aggression) ซึ่งเราสามารถดูแนวโน้มทางพฤติกรรมของหนอนเมื่อเราให้serotoninมาเปรียบเทียบกับในมนุษย์ได้
Serotonin ทำหน้าที่หลายอย่างในสมอง และมีความหลากหลายในชนิดของตัวรับสารสื่อประสาท (serotonin receptors) และชนิดของตัวกลางในการส่งserotonin serotonin transporter ซึ่งtranporter จะช่วยในการเก็บสารสื่อประสาทกลับคืน (reuptake) สู่เซลล์ประสาทก่อนหน้าsynapseนั้นๆ (presynapses) ซึ่งหากโมเลกุลเหล่านี้มีความผิดปกติจะทำให้เกิดโรคทางจิตได้ ปัจจุบันมียารักษาโรคทางประสาทหลายชนิดที่มีเป้าหมายที่ระบบการส่งกระแสประสาทที่ใช้ serotonin เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งในตอนนี้จะเน้นการค้นคว้าเกี่ยวกับยีนที่เกี่ยวข้องกับserotoninที่มีผลต่อโรคทางจิตเภท ซึ่งบางรายงานได้เผยว่า promoter region ของ serotonin transporter protein เป็น10%ของตัวแปรสำคัญในการทำให้เกิดนิสัยวิตกกังว