วัดพระธาตุดอยสุเทพ-เชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ
เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน
ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่
ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน

(ภาพก่อนบรูณะ พ.ศ.254)
ประวัติวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา
ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี
มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ
มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก
หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน
แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ
และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12
ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำ
เป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง
เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป
โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร

1.ฉัตร ๔ มุม ทำด้วยทองเหลือง
2.รั้วหอก (สัตติบัญชร)
3.หอยอ (ยอกุณพระเจ้า)
4.ซุ้มท้าวโลกบาล ทั้ง ๔
5.ไหบัว ( ปูรณะฆฏะ)
คำไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ รอบ)
**สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง
วะรัญญะธาตุง สุเทวะนามะกัง
นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง
อะหัง วันทามิ สัพพะทา.***

วิหารครูบาศรีวิชัย
วิหารครูบาศรีวิชัย ตั้งอยู่ด้านนอกของเขตพระบรมธาตุด้านทิศตะวันตก เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ผู้นำการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และรูปหล่อของอดีตเจ้าอาวาสพระธาตุดอยสุเทพ เช่น ครูบาเถิ้ม พระราชรัตนากร เป็นต้น
แต่ละวัน มีประชาชนมากราบนมัสการรูปปั้นครูบาศรีวิชัยและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ มิได้ขาด ด้วยระลึกถึงพระคุณของพระมหาเถระทั้งหลายที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและวัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา
รายนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน
รายนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ
นับเป็นเวลาหกร้อยกว่าปีมาแล้วที่พระเจ้ากือนาได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร มาเมื่อปี พ.ศ.1916 พระธาตุดอยสุเทพได้ชำรุดและซ่อมแซมมาหลายครั้งแล้ว เจ้าผู้ปกครองนครเชียงใหม่ ในราชวงศ์เม็งรายทุกพระองค์ต่างก็ให้ความสนใจและเอาใจใส่ต่อการทำนุบำรุงพระธาตุดอยสุเทพด้วยดีมาตลอดหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2475 เจ้าแก้วนวรัฐ จึงได้มอบสิทธิอำนาจต่าง ๆ ให้แก่ทางคณะสงฆ์ปกครองดูแลพระธาตุดอยสุเทพโดยตนเองในชั้นแรกได้ไปนิมนต์ครูบาเถิ้ม วัดแสนฝาง มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ องค์แรกเพื่อดูแลและรักษาพระเจดีย์แทนพระองค์จากนั้นก็มีการเปลี่ยนเจ้าอาวาสมาตลอดรวม 7 รูปแล้วดังนี้
1. ครูบาเถิ้ม จากวัดแสนฝาง
2. ครูบาปัญญา จากวัดสันป่าขุย อำเภอสันกำแพง
3. พระครูอนุสรณ์ จากวัดหมื่นล้าน
4. พระปลัดคำใส จากวัดดอยสุเทพราชวรวิหาร
5. พระครูญาณลังกา จากวัดทุงยู
6. พระครูสุวรรณธรรมธาดา จากวัดเมืองมาง
7. พระเทพวรสิทธาจารย์ วัดดอยสุเทพราชวรวิหาร (รูปปัจจุบัน)

พระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
ที่ตั้งวัด :
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์และเป็นวัดท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป ในฐานะที่เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,053 เมตร อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
รุปเพิ่มเติม
ป้ายหน้าวัดพระธาตุ จะเจอเป็นอับดับแรก

รูปปั้นครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ก่อนขึ้นบนดอนพระธาตุสุเทพ

บรรไดทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ที่ครูบาศรีวิชัย ได้สร้างไว้

ฆ้องใหญ่หน้าวัดด้านล่าง

ซุ้มประตูกาญจนาภิเษก
เทวรูปสิ่งศักสิทธิ์ ด้านหน้าก่อนผ่านเข้าบริเวณพระธาตุ






พระธาตุขณะนี้กำลังซ่อมแซม
บริเวณรอบพระธาตุ


*************************************************